K-Me Article


ปริมาณสารสัมพันธ์ ตอนที่ 7 สมบัติคอลิเคทีป

การเพิ่มขึ้นของจุดเดือดและการลดลงของจุดเยือกแข็งของสารละลาย

 

                ความแตกต่างประการหนึ่งระหว่างสารบริสุทธิ์กับสารละลายก็คือ  การมีจุดเดือดและจุดเยือกแข็งที่ต่างกัน  กล่าวคือสารบริสุทธิ์จะมีจุดเดือดคงที่ 
ในขณะที่จุดเดือดของสารละลายไม่คงที่  เช่น  น้ำบริสุทธิ์มีจุดเยือกแข็ง(จุดหลอมเหลว)  0  oC  และมีจุดเดือดปกติเท่ากับ  100.0  oC  คงที่ 

                                                                          (คลิ้ก  ชมจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารบริสุทธิ์)


แต่เมื่อมีสารใด ๆ ละลายอยู่ในน้ำแล้วจุดเดือดจะไม่คงที่  โดยมีความเป็นไปได้  2 แบบ  คือ

  1.  ถ้าตัวละลายเป็นสารที่ไม่ระเหย  เช่น  น้ำตาลกลูโคส  น้ำตาลทราย  เกลือ  สารละลายจะมีจุดเดือดสูงกว่า  100.0 oC  ยิ่งความเข้มข้นเพิ่มขึ้นจุดเดือดก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 
  2.  ถ้าพิจารณาการเปลี่ยนแปลงขณะที่สารละลายเดือดจะพบว่าตัวทำละลายจะค่อย ๆ ระเหยไป  แต่ตัวละลายไม่ได้ระเหยไปด้วยความเข้มข้นของสารละลายจึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้น 
  3.  ถ้าเราติดตามสังเกตจุดเดือดของสารละลายไปด้วย  จะพบว่าจุดเดือดค่อย ๆ เพิ่มขึ้น  ดังกราฟ

 

 

 

                ในทางกลับกันถ้าเราศึกษาจุดเยือกแข็ง(จุดหลอมเหลว)ของสารละลาย  นำมาเปรียบเทียบกับจุดเยือกแข็งของตัวทำละลายบริสุทธิ์บ้างจะพบว่า 
สารละลายมีจุดเยือกแข็งต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของตัวทำละลายบริสุทธิ์  โดยสารละลายที่มีความเข้มข้นมากจุดเยือกแข็งยิ่งต่ำลง  ดังกราฟ

 

            

2.  ถ้าสารละลายเกิดจากตัวละลายที่ระเหยได้  เช่น  เอทานอลละลายในน้ำ  สารละลายจะมีจุดเดือดต่ำกว่า  100.0 oC   ขณะเดือดก็จะเกิดการระเหยของทั้งตัวละลาย
คือเอทานอลและตัวทำละลายคือน้ำ  แต่เอทานอลระเหยได้เร็วกว่าน้ำ  มีผลให้ความเข้มข้นของสารละลายส่วนที่เหลือค่อย ๆ ลดลง  ถ้าติดตามจุดเดือดของสารละลาย
จะพบว่าจุดเดือดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น  แต่ในที่สุดจะไม่สูงกว่าจุดเดือดของตัวทำละลายบริสุทธิ์

 

                แต่อย่างไรก็ตามสารละลายบางชนิดมีจุดเดือดคงที่  เรียกว่า อะซีโอโทป ( Azeotropic mixture) เช่น เอทธานอล 95% มีจุดเดือดคงที่ที่  78.2 0
กรดไฮโดรคลอริก 20.22% มีจุดเดือดคงที่ที่ 108.6 0C  การที่สารละลายประเภทนี้มีจุดเดือดคงที่เกิดจากขณะเดือดนั้น  ทั้งตัวทำละลายและตัวละลายระเหยได้ในอัตราส่วนเดียวกัน 
ทำให้สารละลายมีความเข้มข้นคงที่จุดเดือดจึงคงที่

 

                สารละลายที่มีการเพิ่มขึ้นของจุดเดือดและการลดลงของจุดเยือกแข็งอย่างเป็นระบบมากที่สุดคือ  สารละลายที่มีความเข้มข้นในหน่วยโมล/กิโลกรัม  หรือโมแลล 
พบว่าสารละลายที่มีตัวทำละลายเป็นสารเดียวกัน  แต่ตัวละลายเป็นสารต่างชนิดกัน(เป็นสารที่ไม่ระเหย)  ถ้ามีความเข้มข้นเท่ากัน  จะมีจุดเดือดและจุดเยือกแข็ง(หลอมเหลว)เท่ากัน 
เช่น  สารละลายน้ำตาลกลูโคส  กับสารละลายน้ำตาลทราย  ทั้ง 2 ชนิดนี้ตัวทำละลายเป็นสารเดียวกันคือน้ำ  ถ้าทั้ง 2 ชนิดมีความเข้มข้น  1.0  โมล/กิโลกรัม  จะมีจุดเดือดเท่ากับ 
100.51 oC  ทั้ง 2 ชนิด  และมีจุดเยือกแข็ง -1.86  oC  ทั้ง 2 ชนิด

 

                                      สารละลายน้ำตาลกลูโคส                       สารละลายน้ำตาลทราย

                                      ความเข้มข้น  1  โมแลล                        ความเข้มข้น  1  โมแลล

                                      จุดเดือด  100.51  oC                           จุดเดือด  100.51  o

 

                เราเรียกสมบัติประเภทนี้ว่าสมบัติคอลิเกตีป (colligative properties) หมายถึงสมบัติที่ไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของสาร  แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณของสาร  ในทางตรงข้าม 
มีสมบัติของสารอีกมากมายที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามคือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณของสารแต่ขึ้นอยู่กับชนิดของสาร  เช่น  ความหนาแน่น   วัตถุชนิดเดียวกันไม่ว่าชิ้นใหญ่หรือเล็ก
ก็มีความหนาแน่นเท่าเดิม   จุดเดือดของสารบริสุทธิ์ก็เช่นกัน  ไม่ว่าจะมากหรือน้อยจุดเดือดก็เท่าเดิม   เรียกว่าสมบัติอินเทนซีป (intensive properties)

                จุดเดือดที่เพิ่มขึ้นของสารละลายที่มีความเข้มข้น  1.0  โมล/กิโลกรัม  เรียกว่าค่าคงที่ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือด  (ebullioscopic constants ; Kb
โดยตัวทำละลายแต่ละชนิดจะมีค่าคงที่ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือด (Kb)  เป็นค่าเฉพาะตัว เช่น

 

ตัวทำละลาย

จุดเดือดปกติ

ของตัวทำละลายบริสุทธิ์  oC

Kb, oC m-1

Water,  H2O

100.0

0.512

acetic acid , CH3COOH

118.1

3.07

Benzene , C6H6

80.1

2.53

Chloroform , CHCl3

61.3

3.63

Nitrobenzene , C6H5NO2

210.9

5.24

 

                จากตารางเป็นตัวอย่างของตัวทำละลาย  5  ชนิด  สังเกตที่ค่า  Kb จะเห็นว่าเป็นค่าเฉพาะของแต่ละสาร  แต่มีความหมายเหมือนกันคือถ้าเตรียมสารละลายจากตัวทำละลายเหล่านี้ 
ให้มีความเข้มข้น 1.0  โมล/กิโลกรัมเท่ากัน  โดยไม่จำกัดว่าตัวละลาย (solute) จะเป็นสารใด  สารละลายที่ได้ก็จะมีจุดเดือดเพิ่มขึ้นเท่ากับค่า Kb ของตัวทำละลายนั้น ๆ   เช่น

 

 

ตัวทำละลาย

จุดเดือดปกติ

ของตัวทำละลายบริสุทธิ์  oC

 

Kb, oC m-1

จุดเดือดของสารละลาย

ที่มีความเข้มข้น

1.0 โมล/กิโลกรัม(oC)

water

H2O

100.0

0.512

100.0+0.512

= 100.512

acetic acid

CH3COOH

118.1

3.07

118.1+3.07

= 121.17

Benzene

C6H6

80.1

2.53

80.1+2.53

= 82.63

Chloroform

CHCl3

61.3

3.63

61.3+3.63

= 64.93

Nitrobenzene

C6H5NO2

210.9

5.24

210.9+5.24

= 216.14

 

ตัวอย่าง  สารละลายที่เกิดจาก C6H12O6 1.80  กรัม  ละลายในน้ำบริสุทธิ์  100  กรัม  สารละลายจะมีจุดเดือดกี่ oC (Kb ของน้ำ = 0.51 oC m-1)

วิธีทำ       จำนวนโมลของ  C6H12O6  ;  n   =  W/M      =  1.8/180      =  0.010   โมล

                น้ำบริสุทธิ์  100  กรัม  มี  C6H12O6  ละลายอยู่           0.010       โมล

                น้ำบริสุทธิ์  1,000  กรัม  มี  C6H12O6  ละลายอยู่              =        0.10    โมล

                ความเข้มข้นของสารละลาย        =      0.10     โมล/กิโลกรัม               

                ถ้าสารละลายเข้มข้น 1.0  โมล/กิโลกรัม  จุดเดือดเพิ่มขึ้น               0.51              oC   (ดูจากค่า  Kb)

                สารละลายเข้มข้น 0.10  โมล/กิโลกรัม  จุดเดือดเพิ่มขึ้น                 =    0.051   oC

                  จุดเดือดของสารละลาย                        =     100 + 0.051    =         100.051  oC   ตอบ

 

 

ใช้สูตร  ;                   ΔTb   =  Kb.m

                                Tb   =   จุดเดือดที่เพิ่มขึ้น

                                 Kb      =   ค่า  Kb  ของตัวทำละลาย

                                 m       =   ความเข้มข้นของสารละลาย (mol/Kg)

                                           =   1,000 x W1 / W2 x M

                                     Tb   =   Kb. m

จากตัวอย่าง            ΔTb   =   0.51 x 1,000 x 1.8 /100 x 180

                                     =    0.051       oC

  จุดเดือดของสารละลาย        =              100 + 0.051             =              100.051  oC   ตอบ

 

                ในทำนองเดียวกันถ้าเราพิจารณาที่จุดเยือกแข็งของสารละลายก็จะพบว่า  ตัวทำละลายแต่ละชนิดมีค่าคงที่ของการลดลงของจุดเยือกแข็ง (Kf) เฉพาะตัว  เช่น

 

ตัวทำละลาย

จุดเยือกแข็งของตัวทำละลายบริสุทธิ์, oC

Kf oC m-1

Water , H2O

0.0

1.86

acetic acid,CH3COOH

16.6

3.9

Benzene,C6H6

5.5

5.12

Chloroform,CHCl3

-63.5

4.68

Nitrobenzene,C6H5NO2

5.67

8.1

 

                ถ้าเตรียมสารละลายจากตัวทำละลายเหล่านี้ให้มีความเข้มข้น  1.0  โมล/กิโลกรัม  สารละลายจะมีจุดเยือกแข็งดังนี้

 

ตัวทำละลาย

จุดเยือกแข็งของตัวทำละลายบริสุทธิ์, ( ( oC )

K, oC m-1

จุดเยือกแข็งของสารละลายซึ่งเข้มข้น 1.0 โมล/กิโลกรัม

( oC )

Water

H2O

0.0

1.86

0.0 - 1.86

= - 1.86

acetic acid

CH3COOH

16.6

3.9

16.6 - 3.9

=  12.70

Benzene

C6H6

5.5

5.12

5.5 - 5.12

=  0.38

Chloroform

CHCl3

-63.5

4.68

-63.5 – (+4.68)

=  -58.82

Nitrobenzene

C6H5NO2

5.67

8.1

5.67 – 8.1

=  -2.43

 

ตัวอย่าง  สารละลายที่เกิดจาก C6H12O6 1.80  กรัม  ละลายในน้ำบริสุทธิ์  100  กรัม  สารละลายจะมีจุดเยือกแข็งกี่ oC  (Kf ของน้ำ = 1.86 oC m-1)

วิธีทำ       จำนวนโมลของ  C6H12O6  ;  n   = W/M      = 1.8 / 180       =  0.010   โมล

                น้ำบริสุทธิ์  100  กรัม  มี  C6H12O6  ละลายอยู่           0.010       โมล

                น้ำบริสุทธิ์  1,000  กรัม  มี  C6H12O6  ละลายอยู่              =        0.10    โมล

                 ความเข้มข้นของสารละลาย        =      0.10     โมล/กิโลกรัม                สารละลายเข้มข้น 1.0  โมล/กิโลกรัม  จุดเยือกแข็งลดลง                 1.86                oC

                สารละลายเข้มข้น 0.10  โมล/กิโลกรัม  จุดเยือกแข็งลดลง                    =    0.186     oC

  จุดเยือกแข็งของสารละลาย                        =              0 – 0.186                 =              -0.186  oC   ตอบ

 

ใช้สูตร  ;                   ΔTf  =  Kf.m

                                Tf   =   จุดเดือดที่เพิ่มขึ้น

                                 Kf      =   ค่า  Kf  ของตัวทำละลาย

                                 M       =   ความเข้มข้นของสารละลาย (mol/Kg)

                                                   
จากตัวอย่าง            ΔTf   =   Kf x 1,000 x W1 / W2 x M

                                      =  1.86 x 1,000 x 1.8 / 100 x 180

                                      =    0.186  oC

  จุดเยือกแข็งของสารละลาย        =      0 – 0.186     =    -0.186  oC   ตอบ

 

เพิ่มเติม    ให้พิจารณาลักษณะของการละลายของสารแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน  บางชนิดละลายโดยไม่แตกตัวเป็นไอออน  ในขณะที่บางชนิดมีการแตกตัวเป็นไอออน  เช่น

                C6H12O6(s)  →   C6H12O6(aq) 

                NaCl(s)  →  Na+(aq)  +  Cl-(aq)

                จะเห็นได้ว่าการละลายของ  C6H12O6  ละลายโดยไม่แตกตัวเป็นไอออน   ถ้านำ C6H12O6  จำนวน  1  โมล  มาละลายน้ำ  ในสารละลายจะมีจำนวนโมเลกุลของ
C6H12O6  จำนวน 6.02 x 1023  โมเลกุล  หรือจำนวนโมลของอนุภาคยังเป็น  1  โมลตามเดิม

                ถ้านำ  NaCl  จำนวน  1  โมล  มาละลายน้ำ  ในสารละลายจะมี  Na+  และ  Cl-  ชนิดละ  1  โมล  รวมเป็น  2  โมล  จำนวน ดังสมการ

                          NaCl(s)  →  Na+(aq)  +  Cl-(aq)

-                    NaCl  1  โมล  มีมวล  58.5  กรัม

-                    NaCl  1  โมล  ขณะเป็นของแข็งประกอบด้วย  NaCl  จำนวน  6.02 x 1023  หน่วยสูตร

-                    NaCl  1  โมล  หลังการละลายมีการแตกตัวเป็นไอออน  ทำให้มี  Na+  เกิดขึ้น 1 โมล ( 6.02 x 1023 ไอออน)  และมี  Cl-  เกิดขึ้น  1  โมล (6.02 x 1023 ไอออน) 
จำนวนไอออนทั้งหมดมี  2  โมล

-                    กรณีนี้มีผลให้สารละลาย NaCl  ความเข้มข้น  1  โมล/กิโลกรัม (โดยมวล)  กลายเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้น  2  โมล/กิโลกรัม (โดยจำนวนอนุภาค)

*  ถ้าเปรียบเทียบระหว่างสารละลาย  C6H12O6  กับสารละลาย  NaCl  จะมีความเข้มข้น  1 โมล/กิโลกรัม  (โดยมวล) เท่ากัน 

* ถ้าเปรียบเทียบกันที่จำนวนอนุภาค  สารละลาย  C6H12O6  จะเข้มข้น  1  โมล/กิโลกรัม  แต่สารละลาย  NaCl  จะเข้มข้น  2  โมล/กิโลกรัม

-                    การเพิ่มขึ้นของจุดเดือดของสารละลาย C6H12O6 จะเพิ่มขึ้น = 0.51  oC

-                    การเพิ่มขึ้นของจุดเดือดของสารละลาย NaCl  จะเพิ่มขึ้น = 2 x  0.51  oC


-                    การลดลงของจุดเยือกแข็งของสารละลาย  C6H12O6  จะลดลง  =  1.86  oC

-                    การลดลงของจุดเยือกแข็งของสารละลาย  NaCl  จะลดลง  = 2 x1.86  oC

* จะเห็นได้ว่าสารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้น 1 โมล/กิโลกรัม   (โดยมวล)  จะกลายเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้น  2  โมล/กิโลกรัม  โดยจำนวนอนุภาค  ให้ใช้ข้อสังเกตว่า 
สารละลายต่างชนิดที่มีตัวทำละลายเป็นสารเดียวกัน  แต่ตัวละลายเป็นสารต่างชนิดกัน  จะมีจุดเดือดและจุดเยือกแข็ง (จุดหลอมเหลว) เท่ากันหรือไม่  ให้ดูจากอัตราส่วนระหว่าง
จำนวนอนุภาคของตัวทำละลายต่อจำนวนอนุภาคของตังละลายที่มีอยู่ในสารละลายนั้น ๆ   ถ้ามีอัตราส่วนเดียวกันจึงจะมีจะเดือดและจุดเยือกแข็ง (หลอมเหลว) เท่ากัน 

                                                                                   (คลิ้ก ชมแอนิเมชันแสดงการละลายที่แตกตัวและไม่แตกตัวเป็นไอออน) 


                                                                                   (คลิ้ก  ชมแอนิเมชันแสดงการทดลองเหมือนจริงและทำการทดลองเองได้)

 

แบบฝึกหัด

1.   ค่าคงที่ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือด (kb) คืออะไร

 

 

2.   ค่าคงที่ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือด (kb) ของน้ำ = 0.51 oC mol/kg หมายความว่าอย่างไร

 

 

 

3.    ค่าคงที่ของการลดลงของจุดเยือกแข็ง (Kf) คืออะไร

 

 

 

4.    ค่าคงที่ของการลดลงของจุดเยือกแข็ง (kf) ของน้ำ = 1.86 oC mol/kg หมายความว่าอย่างไร

 

 

 

5.    จงคำนวณหาจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลายที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเปรียบกับน้ำบริสุทธิ์  ของสารละลายที่เกิดจากกลีเซอรีน  (C3H8O3) หนัก 1.00 g ละลายในน้ำ   47.8   g   กำหนดค่า Kb ของน้ำ = 0.50 oC/m ; Kf = 1.86 oC/m    (ตอบ จุดเดือดเพิ่ม 0.116 oC และ จุดเยือกแข็งลดลง 0.422 oC)

 

 

 

 

 

 

6.    จงคำนวณหาจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลายซึ่งมีไอโอดีน  ( I2)  92.1 g ละลายในโคโรฟอร์ม (CHCl3)  800.0 g สมมติว่าไอโอดีนไม่ระเหย   กำหนดให้ จุดเดือด จุดเยือกแข็ง  Kb และ Kf ของคลอโรฟอร์มมีค่า  -24  oC,  -98 o C  , 3.46  o C/m และ 4.68 oC/m  ตามลำดับ    

 

 

 

7.     จงคำนวณหาน้ำหนักของเอทิลีนไกลคอล (C2H6O2) ที่ละลายในน้ำ 2 กิโลกรัม และสารละลายมีจุดเยือกแข็ง -10  °C (มวลโมเลกุลเอทิลีนไกลคอล=62 Kf น้ำ=1.86 °C/m)

 

 

 

 

 

8.    นำสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง 1.20 กรัม ละลายในเบนซีน 60 กรัม สารละลายนี้มีจุดเดือด 81.06 °C จงคำนวณหามวลโมเลกุลของสารอินทรีย์นี้  (กำหนดให้เบนซีนบริสุทธิ์มีจุดเดือด 80.1 °C และ Kb=2.53 °C/m)

 

 

 

 

 

9.     เมื่อนำโปรตีนชนิดหนึ่งหนัก 50 กรัม ละลายน้ำจนได้สารละลายปริมาตร 500 cm3 ไปหาจุดเยือกแข็ง อยากทราบว่าสารละลายจะมีจุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิเท่าใด(กำหนดมวลโมเลกุลโปรตีน = 4762 Kf น้ำ = 1.86 °C/m และความเข้มข้นสารละลายในหน่วยโมลาร์ เท่ากับความเข้มข้นสารละลายในหน่วยโมแลล)

 

 

 

 

10.   เกลือฟลูออไรด์ของโลหะแอลคาไล  4.0 g ละลายในน้ำ 100 g ได้สารละลายซึ่งมีจุดเยือกแข็ง -1.4 °C จงคำนวณหาสูตรของเกลือนี้ซึ่งแตกตัว 100% ในน้ำ

 

 

 

 

11.  ในช่วงฤดูหนาวของบางประเทศ   อุณหภูมิของอากาศจะลดต่ำกว่า 0 °C จึงทำให้น้ำในหม้อน้ำรถยนต์เกิดการแข็งตัว  เพื่อแก้ปัญหานี้ได้มีการเติมสารบางชนิดลงไปในหม้อน้ำ  เพื่อทำให้สารละลายที่ได้มีจุดเยือกแข็งต่ำกว่า 0 °C

11.1)   จงหาจุดเยือกแข็งของสารละลายในหม้อน้ำ ถ้าสารที่เติมลงไปคือ Prestone , C2H4(OH)2 จำนวน 5  กิโลกรัม และในหม้อน้ำรถยนต์มีน้ำอยู่ 12 กิโลกรัม

 

 

 

11.2)    ถ้าสารที่เติมคือ methanol, CH3OH จะต้องใช้ CH3OH  กี่กิโลกรัม จึงจะให้ผลเช่นเดียวกับการเติม  Prestone ในข้อ 11.1  (, Kf น้ำ = 1.86 °C/m)

 

 

 

 

12.   มีสารละลายอยู่ 2 ขวด ขวดที่ 1 ประกอบด้วยสาร x ละลายในตัวทำละลาย A สารละลายนี้มีจุดเยือกแข็ง 2 °C ขวดที่ 2 ประกอบด้วยสาร x ละลายในตัวทำละลาย B โดยที่น้ำหนักสาร x ในขวดที่ 1 และขวดที่ 2 เท่ากัน และตัวทำละลาย A ในขวดที่ 1 และตัวทำละลาย B ในขวดที่ 2 ก็มีน้ำหนักเท่ากันด้วย จงหาจุดเดือดของสารละลายในขวดที่ 2

กำหนดให้ตัวทำละลาย A มีจุดเยือกแข็ง 6 °C และมี Kf = 5  °C/m

กำหนดให้ตัวทำละลาย B มีจุดเดือด  60 °C และมี Kb = 4  °C/m

 

 

 

 

13.   นำตัวถูกละลายชนิดหนึ่งไม่ระเหยและไม่แตกตัว จำนวน 0.10 โมล ละลายในตัวทำละลายจำนวนหนึ่ง สารละลายที่ได้มีจุดเดือด 72 °C เมื่อตั้งสารละลายทิ้งไว้นาน ๆ ทำให้ตัวทำละลายระเหยไป หลังจากนั้นนำสารละลายมาหาจุดเดือดพบว่าจุดเดือดของสารละลายคือ 72.2 °C  จงคำนวณหาน้ำหนักของตัวทำละลายที่ระเหยไป (จุดเดือดของตัวทำละลายบริสุทธิ์ = 70 °C,  Kb ของตัวทำละลาย = 2 °C/m)

 

 

 

 

14.   สารละลายที่มีกลูโคส 0.1 โมล และ Pb(NO3)2 0.1 โมล ในน้ำ 500 กรัม จะมีจุดเยือกแข็งเท่าใด ถ้า Pb(NO3)2 ในสารละลายแตกตัวได้ 100 % และไม่มีแรงดึงดูดระหว่างไอออน (Kf น้ำ = 1.86 °C/m)

 

 

 

 

15.   เอทิลีนไกลคอลเป็นสารที่ใช้เป็นสารป้องกันการแข็งตัว (antifreeze) ในหม้อน้ำรถยนต์ มีสมบัติละลายน้ำได้ดีและระเหยยาก  มีจุดเดือด 197 °C  กำหนดมวลโมเลกุลเอทิลีนไกลคอล = 62.01 Kb น้ำ = 0.52 °C/m   Kf น้ำ = 1.86 °C/m  จงคำนวณจุดเยือกแข็งของสารละลายที่เกิดจากเอทิลีนไกลคอล  651 g ในน้ำ 2505 g

 

 

 

16.   ลูกเม็นมีจุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิ 178.4 องศาเซลเซียส มี Kf  = 40.0  C/m จงหาว่าจุดเยือกแข็งของสารละลายจะลดลงเท่าใด ถ้ามีสาร A (Mw = 125 g/mol) 1.50 กรัม ละลายอยู่ในลูกเหม็น 35.0 กรัม(13.7 C)

 

 

 

17.  สารละลายที่มีตัวถูกละลายชนิดไม่แตกตัว จำนวน 4.5 กรัม ละลายในน้ำ 125 กรัม เกิดการแข็งตัวที่อุณหภูมิ –0.372 C จงคำนวณน้ำหนักโมเลกุลของตัวถูกละลายนี้ กำหนดให้ Kf ของน้ำ = 1.86C/m

 

 

 

18.  ละลายสารประกอบเกลือของโพแทสเซียม (KX) จำนวน 8.00 กรัม ในน้ำ 100 กรัม สารละลายนี้แข็งตัวที่ –1.25 C จงหาว่า X คือธาตุใดของหมู่ 7A ( Br)

 

 

Appendix
A.
  Calculate the molality, freezing point, and boiling point for each of the following water solutions of nonionizing solutes: ( จงคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายต่อไปนี้ในหน่วยโมล/กิโลกรัม  รวมทั้งจุดเยือกแข็งและจุดเดือดด้วย  สารละลายเหล่านี้มีน้ำเป็นตัวทำละลาย)

1.   144 g of C6H12O6 dissolved in 1000 g of H2O  (ใช้  C6H12O6 144 g  ละลายในน้ำ 1,000  กรัม)

 

 

 

 

 

2.   48 g of CH3OH dissolved in 200 g of H2O  (ใช้  CH3OH  48 g  ละลายในน้ำ  200  กรัม)

 

 

3.  184 g of C2H5OH dissolved in 400 g of H2O  (ใช้  C2H5OH  184 g  ละลายในน้ำ  400  กรัม)           

 

 

 

 

4.   600 g of C3H7OH dissolved in 600 g of H2O  C3H7OH (ใช้  C3H7OH  600 g  ละลายในน้ำ  600  กรัม)

 

 

 

 

5.   100 g of of C2H6O2 dissolved in 200 g of H2O  (ใช้  C2H6O2  100 g  ละลายในน้ำ  200  กรัม)

 

 

 

 

B.   Calculate the molality of a water solution if the freezing point is:  (จงหาความเข้มข้นในหน่วย โมล/กิโลกรัม  ของสารละลายซึ่งมีน้ำเป็นตัวทำละลาย  และมีจุดเยือกแข็งตามที่กำหนด)

1.   -9.3°C

 

                                               

2.   -27.9°C

 

 

3.   -7.44°C

 

 

C.   Calculate the molality of a water solution if  the boiling point is: (จงคำนวณหาความเข้มข้นในหน่วยโมล/กิโลกรัม  ของสารละลายซึ่งมีน้ำเป็นตัวทำละลายและมีจุดเดือดตามที่กำหนด)

1.   103.12°C

 

 

 

2.   108. 32°C

 

 

 

D.   Solve the following Problems  

1.  What is the boiling point of a solution made by dissolving 31 g of NaCl in 559 g of water?

       (Assume 100% ionization of NaCl.) (สารละลายที่เกิดจาก  NaCl  31  กรัม  ในน้ำ  559  กรัม  สารละลายจะมีจุดเดือดเท่าไร)

 

 

 

 

2.   Calculate the freezing point of an a nonionizing antifreeze solution containing 388g ethylene glycol,

        C2H6O2 , and 409 g of water.  (ใช้เอทิลีนไกลคอล C2H6O2 388 กรัม  ละลายน้ำ  409  กรัม  โดยการละลายของเอทิลีนไกลคอลไม่แตกตัวเป็นไอออน  สารละลายจะมีจุดเยือกแข็งเท่าไร)

 

 

 

 

3.   Calculate the boiling point of an ionic solution containing 29.7 g Na2SO4 and 84.4 g water. (Assume 100% ionization.) (สารละลายที่เกิดจาก  Na2SO4  29.7 g ละลายในน้ำ  84.4 g  โดยการละลายของ  Na2SO4  มีการแตกตัว 100 %  สารละลายจะมีจุดเดือดเท่าไร)

 

 

 

4.  What is the molecular mass of a substance if 22.5 g dissolved in 250 g of water produces a solution whose freezing point is -0.930°C?  (สารชนิดหนึ่งหนัก  22.5 g  นำมาละลายในน้ำ  250 g  สารละลายที่ได้มีจุดเยือกแข็ง  -0.930°C  สารดังกล่าวนี้มีมวลโมเลกุลเท่าไร)

 

 

 

 

 

5.   If  4.18 g of a nonionic solute is dissolved in 36.30 g of benzene, C6H6 , the freezing point is 2.70 °C. Find the molar mass of this solute. The freezing point of benzene is 5.53 °C and the Kf  is 5.12 °C /m.  (นำสารซึ่งไม่แตกตัวเป็นไอออนจำนวน  4.18 g  ละลายในเบนซีน , C6H6  36.30 g  ได้สารละลายที่มีจุดเยือกแข็ง 2.70 °C  สารดังกล่าวนี้มีมวลโมเลกุลเท่าไร  ถ้าจุดเยื่อกแข็งของเบนซีนบริสุทธิ์คือ  5.53 °C และ Kf = 5.12 °C /m.)

 

 

6.   Calculate the freezing of each of the following solution  (จงหาจุดเยือกแข็งและจุดเดือดของสารละลายต่อไปนี้)

                6.1)    0.17 m glycerol,C3H8O3 (Kf of water = 1.86 oC/m)   (สารละลายกลีเซอรอล  ความเข้มข้น  0.17 โมแลล)

 

 

 

                6.2)    1.92 mol of naphthalene , C10H8, in 16.8 mol of chloroform , CH3Cl  (Kf of CH3Cl = 4.68 oC/m)

(สารละลายที่เกิดจากแนพทาลีน ,C10H8  1.92  โมล  ละลายในคลอโรฟอร์ม   , CH3Cl  16.8  โมล)

 

 

 

                6.3)    5.44 g of KBr and 6.35 g glucose , C6H12O6 , in 200 g of water (Kf of water = 1.86 oC/m)

(สารละลายที่เกิดจาก  KBr  5.44  กรัม  และ  C6H12O6  6.35  กรัม  ละลายอยู่ในน้ำ  200  กรัม)

 

 

 

7.   calculate of the boiling points of each of the following solutions (จงหาจุดเดือดของสารละลายต่อไปนี้)

                7.1)     0.60 m glucose in ethanol (Kb of ethanol = 1.99 oC.m-1)  (สารละลายกลูโคสความเข้มข้น  0.60  โมแลล  ในเอทานอล)

 

 

 

                7.2)     16.0 g of C10H22 in 420 g CHCl3 (Kb of  CHCl3 =  5.24 oC.m-1)  (สารละลายที่เกิดจาก  C10H22  จำนวน  16.0  กรัม  ละลายอยู่ใน  CHCl3  420  กรัม)

 

 

 

                7.3)     0.40 mol ethylene glycol and 0.12 mol KBr in 140 g H2O  (Kb of water = 0.51 oC.m-1)  (สารละลายที่เกิดจากเอทิลีนไกลคอล  0.40  โมล  และ  KBr  อีก  0.12  โมล  ละลายอยู่ในน้ำ  140  กรัม)

8.   Adrenaline is the hormone that trigger release of extra glucose molecule in time of stress of emergency. A solution of 0.64 g of adrenaline in 36.0 g of CCl4 cause an elevation of 0.49 oC in the boiling point. What is the molar mass of adrenaline ? (Kb of CCl4 is 5.00 oC/m) (ฮอร์โมนอะดรีนาลีน  เป็นฮอร์โมนในภาวะฉุกเฉินของร่างกาย  ถ้าฮอร์โมนชนิดนี้  0.64  กรัม  ละลายใน CCl4   36.0 g  ทีผลให้จุดเดือดเปลี่ยนไป  0.49 oC  อยากทราบว่าอะดรีนาลีนมีมวลโมเลกุลเท่าไร (Kb ของ CCl4 is 5.00 oC/m)

 

9.   Laural alcohol is obtained from coconut oil and is use to make detergents. A solution of laural alcohol in 0.100 kg of benzene freezes at 4.0 oC .  What is the molar mass of the subatance ? (Kf of benzene = 5.12 oC/m)  (ลอรอลแอลกอฮอล์ผลิตจากน้ำมันมะพร้าวนำมาใช้ในการผลิตผงซักฟอก  นำแอลกอฮอล์ชนิดนี้ไปละลายในเบนซีน   0.100 kg   สารละลายมีจุดเยือกแข็ง  4.0 oC  แอลกอฮอล์ดังกล่าวมีมวลโมเลกุลเท่าไร (Kf ของ benzene = 5.12 oC/m)

 

 

 

10.  Which solution would give the larger freezing-point lowering, (สารละลายใดมีจุดเยือกแข็งต่ำสุด)

                a)  0.030 m solution of NaCl or             b)  0.02 m solution of K2SO4 ?

 

 

 

11.  The cooling system of an automobiles is filled with a solution formed by mixing equal  volumes of water. (density  = 1.00 g/cm3) ang ethylene glycol, C2H6O2 (density = 1.12 g/cm3) Estimate the freezing point and boiling point of the mixture. (ระบบระบายความร้อนของรถยนต์เติมสารละลายที่ประกอบด้วยส่วนผสมระหว่างน้ำ (ความหนาแน่น 1.00 g/cm3) แลแอทิลีนไกลคอล C2H6O2 (ความหนาแน่น = 1.12 g/cm3)  จงหาจุดเยือกแข็งและจุดเดือดของสารละลายนี้)

 

 

 

12.  Carbondisulfide, CS2 , boil at 46.30 oC and has density of 1.261 g/cm3 (คาร์บอนไดซัลไฟด์ CS2 มีจุดเดือด 46.30 oC และมีความหนาแน่น  1.261 g/cm3 )

a)    When 0.250 mol of an non-dissociating solute is dissoled in 400 cm3 of CS2  , the solution boils at 47.46 oC .  What is the molal boiling-point elevation constant of CS2 ? (เมื่อใช้ตัวละลายที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนจำนวน 0.250 mol ละลายในคาร์บอนไดซัลไฟด์  400 cm3  สารละลายที่ได้มีจุดเดือด  47.46 oC  ค่า Kb ของ CS2 เป็นเท่าไร)

 

 

 

 

 

 

b) 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


Size : 30.65 KBs
Upload : 2013-08-05 04:45:13
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.940146 sec.