K-Me Article


โครงสร้างอะตอม ตอนที่ 7 เลขเชิงอะตอม เลขเชิงมวลและไอโซโทป

เลขเชิงอะตอม  เลขเชิงมวลและไอโซโทป (atomic number  mass number and isotope)

            เลขเชิงอะตอม  (atomic number , Z) หมายถึงจำนวนโปรตอนที่มีอยู่ในอะตอมของธาตุแต่ละธาตุ เช่น ไฮโดรเจน ( H ) มีโปรตอน  1  ตัว (อยู่ในนิวเคลียส)   จึงมีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 1    ธาตุ คาร์บอนมีโปรตอน  6  ตัว(อยู่ในนิวเคลียส)  จึงมีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ  6   จำนวนโปรตอนหรือเลขเชิงอะตอมเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละธาตุ  เป็นสิ่งที่แสดงความเป็นธาตุนั้น ๆ   กล่าวคือถ้า เป็นอะตอมของธาตุเดียวกัน  ทุกอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน  จำนวนโปรตอนหรือเลขเชิงอะตอมจึงเป็นสิ่งที่ใช้บอกชนิดของธาตุ  อะตอมในภาวะปกติจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน  ทำให้อะตอม ไม่มีประจุไฟฟ้า  หรือเป็นกลางทางไฟฟ้า (neutral) แต่เมื่ออิเล็กตรอนของอะตอมหนึ่งเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่อะตอมอื่น  อะตอมที่เสียอิเล็กตรอนไปจะมีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอน  จึงมี ประจุไฟฟ้าเป็นบวก  เรียกว่าไอออนบวก (cation  อ่านว่า แคท ไอออน) เช่น  Ca2+  หมายถึงไอออนบวกของแคลเซียม  มีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอนอยู่  2 ตัว   เกิดจากเสียอิเล็กตรอนไป  2  ตัว  (ไม่ใช่ได้โปรตอนมา  2  ตัว)  ในทางตรงกันข้ามอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนก็จะมีอิเล็กตรอนมากกว่าโปรตอน  ทำให้มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ  เรียกว่าไอออนลบ (anion  อ่านว่า แอน ไอออน)   เช่น  S2-  หมายถึงไอออนลบของซัลเฟอร์ หรือกำมะถัน  มีอิเล็กตรอนมากกว่าโปรตอนอยู่  2  ตัว  เกิดจากได้รับอิเล็กตรอนมาจากอะตอมอื่น  2  ตัว  (ไม่ใช่เสียโปรตอนไป  2  ตัว)

                เลขเชิงมวล  ( Mass  number , A ) 

                ก่อนอื่นต้องทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า  อะตอมของไฮโดรเจนไอโซโทปโปรเตียม  ()  เป็นอะตอมที่มีมวลน้อยที่สุดหรือเบาที่สุด   มีมวลประมาณ  1.66 x  10-24  กรัม  และเรียกค่านี้ว่า  1  amu   ( 1  amu = 1.66 x 10-24 g)  (amu หรือ AMU  เป็นคำย่อของคำว่า  Atomic Mass Unit)  ธาตุอื่น ๆ ล้วนแต่มีมวลมากกว่า ไฮโดรเจนไอโซโทปนี้ทั้งสิ้น  กำหนดให้ใช้มวลของไฮโดรเจน ไอโซโทปนี้ เป็นค่ามาตรฐาน  เปรียบเทียบมวลกับอะตอมของธาตุอื่นที่มีจำนวนอะตอมเท่ากัน   เพื่อดูว่าอะตอมของธาตุอื่นมีมวลมากกว่ากี่เท่า  ใช้จำนวนเท่าที่ได้จากการเปรียบเทียบเป็นเลขเชิงมวล หรือมวลอะตอม ของธาตุนั้น ๆ  ดังสมการ

การเปรียบเทียบดังกล่าวนี้พบว่า  12C  1  อะตอม  มีมวลมากกว่า 1H   1  อะตอมอยู่  12  เท่า ฉะนั้นมวลอะตอมของ  C  =  12  หรือ  12  amu

 

                ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ 1/12  ของ  12C  จำนวน  1  อะตอม      (อ่านว่า 1/12 ของ  คาร์บอนสิบสอง)  แทนการใช้  1H  แต่ค่าที่ได้จากการคำนวณจะเท่าเดิม  เพราะ 12Cจำนวน  1  อะตอม  มีมวล เป็น  12  เท่าของ 1H     1  อะตอม  ฉะนั้นเมื่อใช้เพียง  1/12    ของ  12C  จำนวน  1  อะตอม   จึงมีมวลเท่ากับ 1H    1   อะตอมพอดี  สมการจะเป็นดังนี้

**  จำนวนอะตอมที่นำมาเปรียบเทียบกันไม่จำเป็นต้องเป็น  1:1  เสมอไป  ใช้เท่าไรก็ได้แต่ต้องเท่ากัน       
            (X : X)

ตัวอย่าง  ธาตุ  He  จำนวน  1  อะตอม  มีมวล  6.64 x 10-24 g  เลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมของ He  เป็นเท่าไร

วิธีทำ      (ทดลองทำด้วยตัวเองก่อน  แล้วจึงคลิ้กดูเฉลย)


ตัวอย่าง  ธาตุ  He  จำนวน  100  อะตอม  มีมวล  6.64 x 10-22 g  เลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมของ He  เป็นเท่าไร

วิธีทำ  (ทดลองทำด้วยตัวเองก่อน  แล้วจึง คลิ้กดูเฉลย)

ปัจจุบันเราสามารถหาเลขเชิงมวล  หรือมวลอะตอมของธาตุได้จากผลรวมระหว่างจำนวนโปรตอน (p) กับนิวตรอน (n)  ของแต่ละธาตุ  เช่น  อะตอมฮีเลียม  (He)  ประกอบด้วยโปรตอน 2 ตัว  นิวตรอน 2 ตัว  ฉะนั้นเลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมของ He จะเท่ากับ 4 หรือ  4 amu.  หรือ  4 g/mol  อาจแสดงด้วยสมการต่อไปนี้

                                                A  =  p+n    ( p  คือ จำนวนโปรตอน   n  คือ  จำนวนนิวตรอน)
                                                     = 2+2
                                                     =  4   หรือ  4  amu  หรือ  4  g/mol

 

หน่วยของเลขเชิงมวล
                ถ้าดูจากสมการจะเห็นได้ว่าเลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมของธาตุจะไม่มีหน่วยเพราะตัดกันหมดไป  แต่เราก็สามารถที่จะใช้หน่วยได้   คือใช้หน่วยเป็น  amu  เพราะค่าที่ได้จะมีค่าเป็นจำนวนเท่าของ  1  amu   ฉะนั้นเลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมของ  He  =  4  amu   ในตอนต่อไปจะพบว่ามีการใช้หน่วยเป็นอย่างอื่นได้อีก  คือใช้ในรูป  มวล/โมล (molar mass) ซึ่งจะพบว่าธาตุ  He  มีมวล  4  กรัม/ โมล  หรือ  4  g/mol  หมายความว่าธาตุ  He  1  โมล  มีมวล  4  กรัม  (คำว่า  1  โมลหมายถึงจำนวนอนุภาค  6.02 x 1023  อนุภาค  ในที่นี้แปลว่าถ้ามี  He  จำนวน  6.02 x 1023  อะตอม  จะมีมวล  4  กรัม)

 

สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ (Atomic nuclear symbol) 

                การเขียนสัญลักษณ์ของธาตุดังที่ทราบมาแล้ว  เป็นการเขียนแสดงเฉพาะชื่อของแต่ละธาตุ  เช่น  C  หมายถึงธาตุคาร์บอน  แต่ในที่นี้จะเป็นการเขียนสัญลักษณ์ของธาตุพร้อมแสดงจำนวนอนุภาค มูลฐาน  (อิเล็กตรอน  โปรตอน  และนิวตอน)  เอาไว้ด้วย  แต่แสดงเอาไว้ในรูปของเลขเชิงอะตอม (atomic number , z ) และเลขเชิงมวล (mass number , A ) โดยมีรูปแบบดังนี้  

 


Z  =  เลขเชิงอะตอม (atomic number) คือจำนวนโปรตอน  ( p ) ที่มีอยู่ในอะตอมของแต่ละธาตุ                          
                      (อะตอมในภาวะปกติจำนวนโปรตอน  =  จำนวนอิเล็กตรอน  หรือ  p  =  e-)
                     *  ถ้าจำนวนโปรตอนมากกว่าจำนวนอิเล็กตรอน  อะตอมจะเป็นไอออนบวก (cation)  เช่น
                       Ca2+ มีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอน  2  ตัว  เกิดจากเสียอิเล็กตรอนไป  2  ตัวให้แก่อะตอมอื่น
                     *  ถ้าจำนวนอิเล็กตรอนมากกว่าจำนวนโปรตอน  อะตอมจะเป็นไอออนลบ (anion) เช่น  S2-
                       มีอิเล็กตรอนมากกว่าโปรตอน  2  ตัว  เกิดจากได้รับอิเล็กตรอนมา  2  ตัวจากอะตอมอื่น

                A  =  เลขเชิงมวล  (mass number) หรือมวลอะตอมของธาตุ  คิดจากจำนวนโปรตอน  (p) รวมกับจำนวนนิวตรอน (n)    ที่มีอยู่ใน อะตอมของแต่ละธาตุ  เขียนในรูปสมการดังนี้  ;  A  =  p  +  n
อะตอมของธาตุเดียวกันถ้ามีนิวตรอนไม่เท่ากัน  เลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมก็จะไม่เท่ากันด้วย 
      เรียกว่าเป็นไอโซโทปกัน

                สัญลักษณ์นิวเคลียร์ทำให้เราทราบว่า  อะตอมของธาตุนั้น ๆ  หรือไอออนนั้น ๆ มีจำนวนอนุภาคมูลฐานแต่ละชนิดอย่างละเท่าไร  เช่น 
              

                  หมายถึง  ธาตุโซเดียม 
                  ประกอบด้วย   p = 11    e-  =  11    n  =  12       
                    
หมายถึงไอออนของโซเดียม
                 ประกอบด้วย   p = 11      e-  =  10      n  =  12
               
  หมายถึงธาตุคลอรีน
  ประกอบด้วย  p = 17  e-  =  17  n = 18 
               
  หมายถึง  ไอออนของคลอรีน
  ประกอบด้วย  p=17  e- = 18  n = 18
(คลิ้ก  ศึกษาเพิ่มเติม)  

              (คลิ้ก   ทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอม)       
                                                                                                                   
                                                                                                                                  (คลิ้ก  ดูตารางธาตุ)  

ไอโซโทป  (Isotope) หมายถึง การที่อะตอมของธาตุเดียวกัน  แต่มีนิวตรอนไม่เท่ากัน  ทำให้เลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมไม่เท่ากันด้วย เช่น ไฮโดรเจน   มี  3  ไอโซโทป  คือ      
                 
             
                 (โปรเตียม , H)    ประกอบด้วย  p = 1  e- = 1  n  = 0  ไอโซโทปนี้ใช้สัญลักษณ์ว่า H  เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะกลายเป็น  H2O  (น้ำธรรมดา  1  น้ำชนิดนี้มีมวลโมเลกุล  18  amu. )
 

                ( ดิวทีเรียม ,D)    ประกอบด้วย  p = 1  e- = 1  n  = 1  ไอโซโทปนี้ใช้สัญลักษณ์ว่า D  เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะกลายเป็น  D2O (น้ำชนิดหนัก Heavy water  น้ำชนิดนี้มีมวลโมเลกุล 
                 20  amu.)


                 (ตริเตียม ,T)       ประกอบด้วย  p = 1  e- = 1  n  = 2  ไอโซโทปนี้ใช้สัญลักษณ์ว่า T  เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะกลายเป็น  T2O  (น้ำชนิดหนัก Heavy water  น้ำชนิดนี้มีมวลโมเลกุล  
                 22  amu.)

                คาร์บอน  มี  3  ไอโซโทป  คือ    
                 

               คลอรีน  มี  2  ไอโซโทป  คือ  
 

                ออกซิเจน  มี  3  ไอโซโทป  คือ 
 

                อาร์กอน  มี  3  ไอโซโทป  คือ  
 

                นีออน  มี  3  ไอโซโทป  คือ 
 

                การที่ธาตุมีหลายไอโซโทป   ซึ่งแต่ละไอโซโทปมีเลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมไม่เท่ากัน  จึงต้องหาค่าเฉลี่ยของเลขเชิงมวล  หรือมวลอะตอมเฉลี่ย  ดังสมการ




(คลิ้ก ชมการหามวลอะตอมเฉลี่ย1)

(คลิ้ก ชมการหามวลอะตอมเฉลี่ย2)


ตัวอย่าง  โลหะเงินมี  2   ไอโซโทป  ดังแสดงในตาราง  จงหามวลอะตอมเฉลี่ยของโลหะเงิน

Isotope name

Isotope mass (amu)

percentage

Silver

107

106.90509

56.86

Slver-109

 

108.9047

 

48.14

 


วิธีทำ  
(ทดลองทำด้วยตัวเองก่อน  แล้วคลิ้กดูเฉลย)   

 ไอโซบาร์  (Isobar)   หมายถึง  การที่อะตอมของธาตุต่างชนิดแต่มีเลขเชิงมวลหรือมวลอะตอมเท่ากัน  เช่น

                                             
เป็นไอโซบาร์กัน  (มีมวลอะตอม  =  14  ทั้ง  2  ชนิด)

                                       เป็นไอโซบาร์กัน  (มีมวลอะตอม  =  30  ทั้ง  2  ชนิด)

   ไอโซโทน  (Isotone)   หมายถึงอะตอมของธาตุต่างชนิดที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน เช่น

                              เป็นไอโซโทนกัน    (มีนิวตรอน  =  20 ทั้ง 2 ชนิด)


                                เป็นไอโซโทนกัน   (มีนิวตรอน  =  8 ทั้ง 2 ชนิด )

**  บรรดาสัญลักษณ์ของธาตุต่าง ๆ   เลขเชิงอะตอมและเลขเชิงมวลเฉลี่ย   จะแสดงอยู่ในตารางธาตุ (Periodic   table)  (คลิ้ก  เปิดตารางธาตุ)

แบบฝึกหัด

1. Complete the following chart and answer the questions below.
    (จงเติมข้อมูลลงในช่องว่างให้สมบูรณ์และตอบคำถามในตอนท้าย)

 

Element 

Name
(ชื่อธาตุ) 

Atomic 

Number
(เลขเชิงอะตอม) 

Number of 

Protons
(จำนวนโปรตอน) 

Number of 

Neutrons
(จำนวนนิวตรอน) 

Mass Number
(เลขเชิงมวล) 

carbon

 

 

 

12

 

8

 

8

 

hydrogen

 

 

 

1

 

 

6

 

14

hydrogen

 

 

2

 

nitrogen

 

 

 

14

 

 

 

1

2

 

92

 

146

 

cesium

 

 

82

 

 

11

 

12

 

 

 

47

 

108

tungsten

 

 

110

 

 

 

 

45

80

 

 

24

 

52

 

 

 

89

152

silver

 

 

 

107

 

76

 

114

 

                                                                (คลิ้ก  ดูเฉลย)

1.1  How are the atomic number and the number of protons related to each other?
       (เลขเชิงอะตอมกับจำนวนโปรตอนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร)

 

 

1.2  How do the number of protons, number of neutrons, and the mass number relate to each other?
       (เลขเชิงมวลมีความสัมพันธ์กับจำนวนโปรตอนและจำนวนนิวตรอนอย่างไร) 

 

1.3  What is the one thing that determines the identity of an atom (that is, whether it is an oxygen atom or a carbon atom, etc.)?
      (สิ่งใดเป็นตัวกำหนดว่าอะตอมหนึ่ง ๆ เป็นอะตอมของธาตุใด )

                                                (คลิ้ก ดูเฉลย)

2..  ถ้าธาตุ A มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 80 เลขเชิงมวลเท่ากับ 200 ธาตุ A จะมีจำนวนนิวตรอนเท่าไร (ตอบ. 4)
                1. 80                                       2. 280                                     3. 200                                     4. 120

 

 

3.   ข้อแตกต่างของยูเรเนียม -234,ยูเรเนียม -235 และยูเรเนียม -238 คืออะไร (ตอบ. 1)
                1. มีเลขเชิงมวลต่างกันเนื่องจากมีจำนวนนิวตรอนต่างกัน
                2. ให้ปฏิกิริยาเคมีต่างกันเนื่องจากมีจำนวนอิเล็กตรอนต่างกัน
                3. ประจุของนิวเคลียสต่างกัน เนื่องจากมีจำนวนโปรตอนต่างกัน
                4. ทั้ง 1. 2. และ 3.

4.   คำกล่าวต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง  (ตอบ. 4)
               ก. มวลอะตอมของธาตุใดๆขึ้นอยู่กับมวลของโปรตอน( p ) และนิวตรอน(n) ในนิวเคลียส
               ข. ทุกอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะต้องมีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเท่ากัน
              ค. ในอะตอมที่เป็นกลางชนิดหนึ่งๆจำนวนโปรตอนต้องเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน
              ง. เราเรียกอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีมวลต่างกันว่า ไอโซโทป
              1. ก                           2. ก,ข                                      3. ก,ง                                      4. ก,ค และ ง

5.   ข้อใดคือข้อความที่ถูกต้องที่สุด  (ตอบ. 4)
              1. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน
              2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีมวลเท่ากัน
              3. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน
              4. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีเลขเชิงอะตอมเท่ากัน

6.   จงพิจารณาว่าข้อใดไม่ถูกต้อง  (ตอบ. 3)
1. จำนวนโปรตอนเรียกว่า เลขเชิงอะตอม
2. ผลรวมของโปรตอนและนิวตรอนเรียกว่า เลขเชิงมวล
3. อะตอมของธาตุเดียวกันมีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนเท่ากัน แต่จำนวนอิเล็กตรอนต่างกัน จึงเรียกอะตอมของธาตุเดียวกันว่าไอโซโทป
  4. อะตอมของธาตุชนิดหนึ่ง จะมีจำนวนโปรตอนเฉพาะตัวไม่ซ้ำกับธาตุอื่นๆ

7.   ถ้าธาตุ X ไปผ่านกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้อะตอมของธาตุ X เกิดการเปลี่ยนแปลง การ
        จะพิจารณาตัดสินว่าธาตุ X เปลี่ยนไปเป็นธาตุใหม่หรือไม่ จะพิจารณาได้จากข้อใด  (ตอบ. 3)
               1. จำนวนไอโซโทปของธาตุ X มีมากชนิดนี้กว่าเดิมมาก
               2. จำนวนนิวตรอนเปลี่ยนไปจากเดิม
                3. จำนวนโปรตอนเปลี่ยนไปจากเดิม
               4. มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละชั้นพลังงานอย่างเห็นได้ชัด

8   อนุภาคในข้อใดมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากันทุกอนุภาค (ตอบ. 3)
        1. 4Be , 12Mg 2+ , 20Ca , 38Sr 2+                                                      2. 11Na + , 25Mn2+ , 17Al3+ , 14Si4+
        3. 17Cl- , 18Ar , 20Ca2+ , 22Ti4+                                                          4. 7N3- , 8O2- , 11Na , 12Mg

  9.   X และ Y เป็นอะตอมของธาตุซึ่งเป็นไอโซโทปกัน ถ้า X มีจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสเท่ากับ b และ Y มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ a กับมีเลขเชิงมวลเท่ากับ c
              เลขเชิงมวลของ X และจำนวนนิวตรอน ของ Y มีค่าเท่ากับ (ตอบ. 1)

           1. a + b และ c – a                                                                     2. a + b และ a – c
           3. a + b และ a + c                                                                    4. a + b และ a + c

 

10.   จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด (ตอบ. 3)
           1.   นิวเคลียสของ Cl- มีประจุลบ
           2. 11Na+ มีจำนวนอิเล็กตรอนมากว่า 8O2- สามอิเล็กตรอน
           3.  มีจำนวนอิเล็กตรอนมากกว่า  หนึ่งอิเล็กตรอน
            4.   กับ  มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน

11.  ธาตุ  X  มีโปรตอน  22  ตัว  มีนิวตรอน  24  ตัว  มีอิเล็กตรอน  20  ตัว  สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของ X  คือข้อใด (ตอบ. 4)
         

12.  (O-net.49) A และ B เป็นไอโซโทปกัน  (ตอบ. 2)

               A   มีจำนวนโปรตอนเท่ากับ 10  และมีเลขเชิงมวลเท่ากับ  20 
               B    มีจำนวนนิวตรอนมากกว่า A อยู่  2  นิวตรอน
         ข้อใดเป็นสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ B

               

 

13.  (O-net.50)ถ้าสามารถดึงโปรตอน  4  ตัว  อิเล็กตรอน  5  ตัว  และนิวตรอน  5  ตัว  ออกจากอะตอมของฟอสฟอรัส  จะได้อนุภาคใดเป็นผลิตภัณฑ์(กำหนดให้ฟอสฟอรัสมีเลขเชิงอะตอม  15  เลข เชิงมวล  31  และ  11Na  12Mg  13Al )  (ตอบ. 1)

1. Na+                                     2.  Na                                     3.  Mg2+                                  4.  Al3+

 

14.   (Ent.41ต.ค.)  Hg2+  0.5  cm3  มีจำนวนอนุภาคมูลฐานทั้งหมดกี่อนุภาค   (ความหนาแน่นของปรอท = 13.6  g/cm3    มวลอะตอมของ  Hg  ไอโซโทปนี้ = 200   เลขเชิงอะตอมของปรอท = 80)  (ตอบ. 1)

1.  5.69 x 1024       2.  6.76 x 1024       3.  1.138 x 1025     4. 1.146 x 1025

 

15.   (Ent.42 มี.ค.) ถ้าไอโซโทนคืออะตอมที่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน  และไอโซบาร์คืออะตอมที่มีเลขเชิงมวลเท่ากัน  จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ต่อไปนี้  (ตอบ. 4)

    ข้อใดไม่ถูกต้อง

                1.    กับ    เป็นไอโซโทนแต่ไม่เป็นไอโซบาร์

                2.    กับ    ไม่เป็นไอโซโทนและไม่เป็นไอโซบาร์

                3.    กับ    ไม่เป็นไอโซโทนแต่เป็นไอโซโทป

                4.    กับ    เป็นไอโซบาร์แต่ไม่เป็นไอโซโทน

 

16.  ธาตุ X มี  2 ไอโซโทปคือ    มีในธรรมชาติร้อยละ  85  และ  15  ตามลำดับ  มวลอะตอมเฉลี่ยของ X เป็นเท่าไร (ตอบ. 30.30)

 

17.   ธาตุ Y มี  2 ไอโซโทปคือ    มีมวลอะตอมเฉลี่ย  =  40.20  จงหาร้อยละในธรรมชาติของไอโซโทปทั้งสอง (ตอบ. 40Y = 90 %    42Y=10%))

 

18.  ธาตุ Z มี  2 ไอโซโทปคือ    มี  70%  มีมวลอะตอมเฉลี่ย  50.6  จงเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของอีก

       ไอโซโทปหนึ่ง  (ตอบ.)

 

19.   (Ent.42 ต.ค.)  ไนโตรเจนในธรรมชาติ (มวลอะตอม  14.004) ประกอบด้วย 2 ไอโซโทป  คือ  14N และ 15N  ปริมาณร้อยละของไอโซโทปทั้งสองของไนโตรเจนที่มีอยู่ตามธรรมชาติมีค่าเท่าใด  (ตอบ. 4)

     1.  14N = 4   15N  =  96                     2.  14N = 50   15N  =  50

     3.  14N = 96   15N  =  4                     4.  14N = 99.6   15N  =  0.4

 

20.  (Ent.42 มี.ค.)  ธาตุ A มี 2 ไอโซโทป  ไอโซโทปที่  1  มีมวลอะตอม  23.08  มีปริมาณในธรรมชาติ  90.00 %  ที่เหลือเป็นปริมาณของไอโซโทปที่  2  ถ้ามวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ A =  23.19  มวลอะตอมของไอโซโทปที่  2  เป็นเท่าใด   (ตอบ. 2)

     1.  24.00                           2.  24.18                                3.  25.00                                4.  25.50

 

21.   (Ent.48 มี.ค. อัตนัย)  ธาตุ A มี 2 ไอโซโทปซึ่งมีมวล  14.0  และ  12.9  ธาตุ  B  ซึ่งมีมวลเฉลี่ยเท่ากับ  36.0  สารประกอบ AB4  มีมวลโมเลกุล  157  จงหาร้อยละของไอโซโทปที่มีมวล 14.0  (ตอบทศนิยม  2  ตำแหน่ง) (ตอบ. 9.08 %)

 

22.  (O-NET ก.พ.54)  ถ้านำธาตุ X ไปผ่านกระบวนการหนึ่งทำให้อะตอมของธาตุ X เกิดการเปลี่ยนแปลง  การตัดสินว่าธาตุ X เปลี่ยนไปเป็นธาตุใหม่หรือไม่  พิจารณาได้จากข้อใด  (ตอบ 2)

            1.  จำนวนไอโซโทปเพิ่มขึ้น

            2.  จำนวนโปรตอนเปลี่ยนไปจากเดิม

            3.  จำนวนนิวตรอนเปลี่ยนไปจากเดิม

            4.  จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด

 

23.  ธาตุ A มีจำนวนอิเล็กตรอนและนิวตรอนเท่ากับ 13 และ 14 ตามลำดับ และเป็นกลางทางไฟฟ้าธาตุ  A มี
เลขเชิงอะตอมและเลขเชิงมวลเท่าไร (ตอบ. 1)
                1. 14 , 27                       2. 13 , 14                               3. 13 , 27                               4. 27 , 13

 

 

 

Appendix (ภาคผนวก)
1.  The 3 particles of the atom are: (อนุภาคมูลฐานทั้ง 3 ชนิดของอะตอมมีอะไรบ้าง)

      a. ______________________b. ______________________c. ______________________

      Their respective charges are:  (อนุภาคดังกล่าวมีประจุอย่างไร)

b.  ______________________b. ______________________c. ______________________

2. The number of protons in one atom of an element determines the atom’s call :
      (จำนวนโปรตอนของอะตอมต่าง ๆ เรียกว่าอะไร)______________________
3. The atomic number tells you the number of
      (เลขเชิงอะตอมเป็นการบอกจำนวนของสิ่งใดของอะตอม)______________________ in one atom of an
       element. It also tells you the number of  (ตัวเลขดังกล่าวใช้บอกจำนวนของสิ่งใดได้ด้วยเมื่ออะตอมอยู่
      ในภาวะปกติ)______________________ in a neutral  atom of thatelement.

4.  The ______________________ of an element is the total number of protons and neutrons in

        the______________________ of the atom.
        (.......................คือผลรวมระหว่างโปรตอนกับนิวตรอนที่มีอยู่ใน..............................ของอะตอม)

5.  The mass number is used to calculate the number of ______________________ in one atom

       of an element. In order to calculate the number of neutrons you must subtract the

       ______________________ from the ______________________ .
       (เลขเชิงมวลสามารถใช้ในการคำนวณหา.....ของอะตอมของธาตุ  เช่นถ้าต้องการคำนวณหาจำนวน
       นิวตรอน  จะต้องนำ.................................ลบออกจาก.............................)

6. Give the symbol and number of protons in one atom of: 
       (จงเขียนแสดงสัญลักษณ์พร้อมจำนวนโปรตอนของธาตุต่อไปนี้)

     Lithium ______3Li_________ Bromine __________________

     Iron __________________ Copper __________________

     Oxygen __________________ Mercury __________________

     Krypton __________________ Helium __________________

7. Give the symbol and number of electrons in a neutral atom of: 
     (จงเขียนสัญลักษณ์และบอกจำนวน อิเล็กตรอนของธาตุต่อไปนี้)

       Uranium ______U , 92 e-________ Chlorine __________________

       Boron __________________ Iodine __________________

       Antimony __________________ Xenon __________________

8. Give the symbol and number of neutrons in one atom of:
      (จงเขียนสัญลักษณ์ (นิวเคลียร์)และแสดงวิธีคำนวณหาจำนวนนิวตรอนของธาตุต่อไปนี้)

       (To get “mass number”, you must round the “atomic mass” to the nearest whole number)

       Show your calculations.

       Barium __________________                                         Bismuth __________________
                                n  =  A-Z
                                    = 137 – 56
                                    =  81

       Carbon __________________                                                      Hydrogen __________________

 

 

 

       Fluorine __________________                                                     Magnesium __________________

 

 

 

       Calcium __________________                                                     Mercury __________________

 

9. Name the element which has the following numbers of particles: 

      (จงบอกชื่อธาตุที่มีองค์ประกอบดังที่กำหนดในแต่ละข้อ)

      a.   26 electrons, 29 neutrons, 26 protons ______Copper__________

b. 53 protons, 74 neutrons _____________________
c. 2 electrons (neutral atoms) _____________________
d. 20 protons _____________________
e. 86 electrons, 125 neutrons, 82 protons (charged atom) _____________________
f. 0 neutrons _____________________

 

10. If you know only the following information can you always determine what the element is?

     (Yes/No). ;
     (ถ้าคุณทราบข้อมูลเพียงอย่างเดียวตามที่กำหนดในแต่ละข้อ  จะระบุชนิดของธาตุได้หรือไม่)

     a. number of protons ___________

     b. number of neutrons___________

     c. number of electrons in a neutral atom___________

11.   Complete  the  table  for  the  following  elements. (จงหาค่าของสิ่งที่อยู่ในช่องว่างของตาราง)

Element

number of proton

number of electron

number of neutron

Atomic number

Mass number

Manganese

25

 

30

 

 

Sodium

 

11

12

 

 

Bromine

35

 

45

 

 

Yttrium

 

 

 

39

89

Arsenic

 

33

 

 

75

Actinium

 

 

138

 

227

 

12 .  Rubidium has two common isotopes , 85Rb and 87Rb.  If the abundance of 85Rb is 72.2%  and the abundance of 78Rb is 27.8%  , what is the average atomic mass of the rubidium?
( รูบิเดียมมี 2 ไอโซโทปคือ 85Rb  และ 87Rb  พบในธรรมชาติร้อยละ  7.28 และ 27.8 % ตามลำดับ  มวลอะตอมเฉลี่ยของรูบิเดียมเป็นเท่าไร) . ตอบ 85.56

 

13.  Uranium has three common isotopes. If the abundance of 234U is 0.01%, the abundance of 235U is 0.71%, and the abundance of 238U is 99.28% , what is the average atomic mass of uranium? (ยูเรเนียมมี 3 ไอโซโทป  คือ 234U จำนวน 0.01%  235U จำนวน  0.71%  และ  238U จำนวน  99.28%  มวลอะตอมเฉลี่ยของยูเรเนียมเป็นเท่าไร) (ตอบ 236.29)

 

14.  Titanium has five common isotopes;  46Ti (8.0%). 47Ti  (7.8%), 48Ti (73.4%) , 49Ti (5.5%), 50Ti (5.3%).  What is the average atomic mass of  titanium?  

(ไททาเนียมประกอบด้วยไอโซโทป 5 ชนิด คือ 46Ti (8.0%). 47Ti  (7.8%), 48Ti (73.4%) , 49Ti (5.5%), 50Ti (5.3%)  มวลอะตอมเฉลี่ยของไททาเนียมเป็นเท่าไร)  (ตอบ  47.76)

 

15.  Naturally occurring chlorine that is put in pools is 75.53 percent 35Cl  (mass = 34.969) and 24.47 percent 37Cl (mass=36.966).  Calculate the average atomic mass. 

(คลอรีนที่ใช้เติมลงในสระว่ายน้ำนั้นในธรรมชาติประกอบด้วย 35Cl (มีมวลอะตอม 34.969) จำนวน 75.53 เปอร์เซ็นต์ และ 37Cl (มีมวลอะตอม 36.966) จำนวน 24.47 เปอร์เซ็นต์  จงหามวล



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 1.99 KBs
Upload : 2015-04-01 06:18:54
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.973329 sec.