Dr-wittaya Article


ตัวอย่างข้อสอบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ตัวอย่างข้อสอบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

1.

พิจารณาสมการ           2N2O5(g)    ----------->  4NO2(g)  +  O2(g)

ข้อสรุปใดผิด

 

1.

อัตราการเกิด NO2  =   4  เท่าของอัตราการเกิด O2

 

2.

อัตราการเกิด NO2  =   2  เท่าของอัตราการสลาย N2O5

 

3.

อัตราการเกิด O2    =   1/4  เท่าของอัตราการเกิด NO2

 

4.

อัตราการเกิด O2    =   2  เท่าของอัตราการสลาย N2O5 

 

2.

สาร A สลายตัวดังสมการ A   ----------->  2C   ได้ข้อมูลดังตาราง

  เวลา (วินาที)

[A] (mol.dm-3)

0

3.0

2

2.6

5

2.0

7

1.6

10

1.0

 

 

 

 

จากข้อมูลข้างต้น ความเข้มข้นของสาร C  ที่วินาทีที่ 8  ควรเป็นเท่าใด ในหน่วย mol.dm-3

 

 

1.

1.4 

2.

2.6 

 

 

3.

2.8

4.

3.2

 

3.

พิจารณาสมการผันกลับได้ ต่อไปนี้ A   +   2B    <------->    3C   +   5D

พลังงานของสารตั้งต้น A และ B น้อยกว่าพลังงานของ C และ D อยู่ 250 kJ

ถ้าค่าพลังงานก่อกัมมันต์(Ea) ของปฏิกิริยาย้อนกลับเท่ากับ 500 kJ

ปฏิกิริยาไปข้างหน้ามีการเปลี่ยนแปลงพลังงานแบบใด และ พลังงานก่อกัมมันต์ (Ea) มีค่าเท่าใด

 

1.

ดูดความร้อน, Ea = 250 kJ

2.

ดูดความร้อน, Ea = 750 kJ

 

3.

คายความร้อน, Ea = 250 kJ

4.

คายความร้อน, Ea = 750 kJ

4.

พิจารณาข้อมูลของการเกิดปฏิกิริยา A  +  B  +  2C  ----------->   D  +  2E ดังต่อไปนี้

การทดลอง

[A]

mol/dm3

[B]

mol/dm3

[C]

mol/dm3

อัตราการเกิดปฏิกิริยา

mol/dm3.s

1

2

3

4

0.01

0.02

0.01

0.01

0.01

0.01

0.01

0.02

0.01

0.01

0.02

0.02

0.24

0.48

0.24

0.48

 

               

 

 

 

 

 อัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นกับความเข้มข้นของสารใดบ้าง

 

1.

A และ B เท่านั้น

2.

B และ C เท่านั้น

 

3.

A และ C เท่านั้น                

4.

ทั้ง A  B และ C

 

 

5.

ผลการทดลองสำหรับปฏิกิริยา 2NO(g)    +   H2 ----------->   H2O(g)   +   N2O(g) เป็นดังนี้

[NO](mol.dm-3)

[H2](mol.dm-3)

อัตราเร็วของปฏิกิริยา(mol.dm-3.s-1)

1.00

1.00

2.00

1.00

2.00

1.0

 

3.5 x 10- 5

7.0 x 10- 5

1.4 x 10- 4

 

 

กฎอัตราเป็นไปตามข้อใด

 

1.

R= k[NO][H2]    

2.

R= k[NO]2[H2]2 

 

3.

R= k[NO]2[H2]

4.

R= k[NO][H2]2

 

6.

พิจารณาปฏิกิริยาต่อไปนี้    A   +  2B  ----------->   3C

จากการทดลอง เพื่อหาค่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาพบว่าได้ข้อมูลดังตาราง

[A] mol.dm-3

[B] mol.dm-3

อัตราการเกิดปฏิกิริยา mol.dm-3.s-1

1.00

2.00

2.0 x 10-7

1.00

4.00

4.0 x 10-7

2.00

2.00

8.0 x 10-7

 

 

สมการกฎอัตราของปฏิกิริยานี้ตรงกับข้อใด

 

1.

R= k[A][B]

2.

R= k[A][B]2

 

3.

R= k[A]2[B]

4.

R= k[A]2[B]2

               

7.

ปฏิกิริยาต่อไปนี้ พบว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นกับความเข้มข้นของสารทั้งสาร A และสาร B      

A   + B  ----------->    C

โดยทำการทดลอง ทั้งหมด 3  ระบบ  ดังนี้

ระบบ A  สาร A 1 mol ทำปฏิกิริยากับสาร B 1 mol ในภาชนะขนาด 1 dm3

ระบบ B  สาร A 2 mol ทำปฏิกิริยากับสาร B 2 mol ในภาชนะขนาด 2 dm3

ระบบ C  สาร A 2  mol ทำปฏิกิริยากับสาร B 2 mol ในภาชนะขนาด 1 dm3

จากข้อมูลข้างต้น จงหาว่า

I ระบบใดได้สาร C มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด

II ระบบใดมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงที่สุด

 

 

I

II

1.

A

B

2.

B

C

3.

C

B

4.

C

C

 

 

8.

ข้อใดมีผลทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน

 

1.

เพิ่มอุณหภูมิ  ลดความดัน

 

2.

เพิ่มพื้นที่ผิว  ใส่ตัวเร่งปฏิกิริยา

 

3.

เพิ่มอุณหภูมิ  เพิ่มขนาดภาชนะที่บรรจุ

 

4.

เพิ่มพื้นที่ผิว  เพิ่มขนาดภาชนะที่บรรจุ

 

9.

การทดลองในข้อใดมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงที่สุดที่อุณหภูมิเดียวกัน

 

1.

ใส่แผ่นสังกะสี 1 ชิ้น หนัก 1 กรัม ลงในกรด HCl 0.1 mol/dm3

 

2.

ใส่แผ่นสังกะสี 2 ชิ้น หนักชิ้นละ 0.5 กรัม ลงในกรด HCl 0.2 mol/dm3

 

3.

ใส่สังกะสีผงละเอียด หนัก 1 กรัม ลงในกรด HCl 0.2 mol/dm3

 

4.

ใส่สังกะสีผงละเอียด  หนัก 1 กรัม ลงในกรด HCl 0.1 mol/dm3

 

10.

เมื่อใส่  1 M HCl   50  cm3 ลงในหินปูนชิ้นเล็กๆ จะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ การเปลี่ยนแปลงข้อใดที่จะไม่ทำให้อัตราของปฏิกิริยาเริ่มต้นเพิ่มขึ้น

 

1.

ใช้ 1 M HCl 100 cm3

2.

ใช้ 2 M HCl  25  cm3

 

3.

ใช้ 2 M HCl 50 cm3

4.

บดหินปูนให้เป็นผงละเอียด

 

11.

ปฏิกิริยา A(s)  +  B(aq) ----------->  C(aq)   +   D(aq) เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน การกระทำทั้งหมดในข้อใดทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น

 

1.

ลดขนาดของ A  เติมตัวเร่งปฏิกิริยา  เพิ่มอุณหภูมิ

 

2.

เพิ่มขนาดของ A   เพิ่มความเข้มข้นของ B  ลดอุณหภูมิ

 

3.

ลดขนาดของ A   ลดความดัน  เพิ่มอุณหภูมิ

 

4.

ลดขนาดของ A   เพิ่มความเข้มข้นของ B   ลดอุณหภูมิ

 

……………………………………..

 



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Dr-wittaya
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.037679 sec.