Dr-wittaya Article


การนำเสนอบทความวิจัยทางเคมี M.501_2015

งานวิจัย เรื่อง เทคโนโลยีการหมักเพื่อผลิตเอทานอลจากอินทรีย์ใบไม้
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ ดร.นฤมล ทองไว
ผู้นำเสนอ : นางสาวพรชิตา  ลาคำ ชั้น ม.501 ปีการศึกษา  2557

บทคัดย่อ

            แหล่งพลังงานธรรมชาติในปัจจุบันมีปริมาณลดลง พลังงานทดแทนจึงเข้ามามีบทบาท โดยเฉพาะเอทานอลที่ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันเชื่อเพลิง จึงได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาวิธีการผลิตเอทานอลโดยอาศัยกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ โดยเลือกใช้ใบสักแห้งเป็นสารตั้งต้น โดยนำ crude enzyme จาก Bacillus sp. CM12 มาย่อยเซลลูโลสในใบไม้ให้เป็นน้ำตาลรีดิวซ์ พบว่า การย่อยจะให้น้ำตาลรีดิวซ์สูงสุด 6174.56 + 1068 ug/mlจากนั้นทำการแช่ยุ่ยใบไม้ด้วยกรดแลกติก กรดไนตริก กรดซัลฟูริก และกรดไฮโดรคลอริก เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์  พบว่า กรดแลกติกย่อยเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาลรีดิวซ์ได้มากที่สุด เมื่อเพาะเลี้ยง Bacillus sp. CM12 ลงไปใน Leaf medium ที่ผ่านการแช่ยุ่ยด้วยกรด พบว่า มีการย่อยเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาลรีดิวซ์ได้เล็กน้อย เอทานอล ด้วยการเติมเชื้อ Saccharomyces cerevisiae อย่างไรก็ตามพบว่า การใช้ใบสักแห้งเป็นสารตั้งต้นให้ปริมาณเอทานอลค่อนข้างต่ำ การพัฒนากระบวนการผลิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น

............................

งานวิจัยเรื่อง ผลของกรดออกซาลิกร่วมกับอุณหภูมิที่เก็บรักษาต่อการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผลลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย
ผู้นำเสนอผลการค้นคว้างานวิจัย : นางสาวแพรวพิชชา อภิชัย

              งานวิจัยเรื่่อง ผลของกรดออกซาลิกร่วมกับอุณหภูมิที่เก็บรักษาต่อการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผลลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยเป็นการศึกษาผลของกรดออกซาลิกร่วมกับอุณหภูมิที่เก็บรักษาต่อการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผลลิ้นจี่ โดยแช่ในสารละลายออกซาลิกความเข้มข้น 5 และ 10% จากนั้นเก็บรักษาผลใน 2 สภาพ คือที่ อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส    พบว่าการแช่กรดออกซาลิกและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส สามารถชะลอการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผลไม้ได้ดีกว่าที่อุณหภูมิห้อง  และยังยืดอายุการเก็บรักษาผล โดยไม่มีการเข้าทำลายของโรคในระหว่างการเก็บรักษา

............................

ชื่องานวิจัย : การสกัดเซอริซินจากรังไหม Bombyx mori and Samia cynthia ricini  
ชื่อผู้วิจัย : น.ส. กนกพร พลเยี่ยม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้นำเสนอผลการค้นคว้างานวิจัย : นายภาณุพงศ์    สุขเจริญยิ่งยง   ชั้น ม.5/1 เลขที่ 6

 

บทคัดย่อ

            เซอริซินเป็นโปรตีนกาวของเส้นไหมที่ได้รับความสนใจในการใช้ประโยชน์ด้านเวชสำอางและชีวการแพทย์ ซึ่งได้จากเส้นไหมของ Bombyx mori  อย่างไรก็ดียังมีการศึกษา  และใช้ประโยชน์จากเซอริซินของเส้นไหมชนิดอื่นค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไหมอีรี่ (Samia cynthia ricini ) ที่กำลังได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงในภาคประชาชนและอุตสาหกรรมงานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาวิธีสกัดเซอ ริซินจากไหมทั้งสองชนิดและเปรียบเทียบแบบแผนของโปรตีนเซอริซินที่ได้ จากการเปรียบเทียบการสกัดเซอริซินด้วยน้ำกลั่นที่ 80 องศาเซลเซียสและสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตความเข้มข้น 0.5%    ที่ 60 องศาเซลเซียสพบว่า โปรตีนที่ได้มีขนาดที่แตกต่างกัน โดยโปรตีนเซอริซินที่สกัดจากรังไหม    B. mori มีขนาดในช่วง 15 - 210 กิโลดาลตัน ในขณะที่โปรตีนเซอริซินที่สกัดจากรังไหม S. c. ricini   มีขนาดที่แตกต่าง คือ อยู่ในช่วง 20 - 170 กิโลดาลตัน แม้ว่าวิธีสกัดด้วยสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตจะได้ปริมาณเซอริซินที่สูงกว่าวิธีสกัดด้วยน้ำ แต่โปรตีนที่ได้มีการสลายตัวมากกว่า

 



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Dr-wittaya
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.098254 sec.