Dr-wittaya Article


แบบทดสอบ : พันธะโคเวเลนต์
  1. โมเลกุลและไอออนในข้อใดที่มีรูปร่างเหมือนกันทั้งหมด

                1.  H2S  CO2  O3                                               2.  CS2   CO2  O3

                3.  CS2  NO2-  CO2                                            4.  O3  H2S  NO2-

   2. กำหนดธาตุ X  Y  และ  Z  มีเลขอะตอม  17  35   54  ตามลำดับ  จงพิจารณาสารประกอบ
 
ต่อไปนี้

                ก.  XF3                    ข.  YF5                    ค.  ZF2                   

       สารประกอบในข้อใดบ้างที่อะตอมกลางมีจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวมากกว่า  1  คู่

                1.  ก                        2.  ค                        3.  ก   ข                   4.  ก   ค

   3. ข้อใดเรียงค่ามุมพันธะได้ถูกต้อง

                1.  BF3 >  PCl3 > CH4 > BeCl2                          2.  Cl2O > BF3 > CH4 > BeH2

                3.  CO2 > CH4 > BF3 > Cl2O                             4.  CS2 > BCl3 > CH4 > PCl3

   4. กำหนดธาตุ X  Y  Z  มีเลขอะตอมเท่ากับ  5  16  และ  50  ตามลำดับ  จงพิจารณาสารประกอบ

      ต่อไปนี้

                ก.  XF3                    ข.  YO3                   ค.  ZCl3-

                สารประกอบในข้อใดที่มีรูปร่างโมเลกุลเป็นพีระมิดฐานสามเหลี่ยม

                1.  ก                        2.  ก  ข                    3.  ค                        4.  ข  ค 

    5. ข้อใดมีรูปร่างโมเลกุลต่างกัน

                1.  NO2  OF2             2.  CO2  SO2             3.  H2O   NO2        4.  SO2   H2O

    6. ข้อใดที่มีโมเลกุลมีสูตรทั่วไปตามทฤษฎี VSEPR  เป็น AX2E2

                1.  SiO3                    2.  SO2                    3.  H2O                4.  SeCl4  

   7. เหตุใดสารโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ

                1. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย      

                2. สารโคเวเลนต์มักสลายตัวได้ง่าย

                3. สารโคเวเลนต์ไม่มีประจุไฟฟ้า                                      

                4. สารโคเวเลนต์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก

   8. สาร X เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว สาร Y เป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสาร Z เป็นพันธะไม่มีขั้ว ถ้าขนาดของ

       โมเลกุล ของ X>Y>Z แล้วสาร X Y และ Z ควรเป็นดังข้อใด 

               1. CH2 , NH3 , C6H6                             2. BeCl2 , CH2Cl2 , S8     

               3. Br2 , H2O , H2                                 4. SiH4 , PCl3 , PCl5

   9. กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรง

       สภาพขั้วจากมากไปหาน้อย

               1. A-B , B-X , X-Y                                2. A-Y , B-X , A-X    

               3. Y-B , A-Y , A-X                                4. A-X , B-Y , A-Y

10. ถ้า A ,B และ C เป็นสารโคเวเลนต์ 3 ชนิดโดยทั้ง 3 ชนิดมีสถานะเป็นของเหลว โมเลกุลของสาร A
     และ B มีขั้ว ส่วนโมเลกุลของสาร C ไม่มีขั้ว สารใดสามารถละลายน้ำได้
 
               1. สาร C                                            2. สาร A และ C              

               3. สาร A เเละ B                                   4. สาร B และ C

 11. สารโคเวเลนต์ชนิดหนึ่งมีสูตร AH3 และรูปร่างโมเลกุลเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ อะตอม A ในสารนี้ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ข้อใดที่น่าจะเป็นสมบัติของสาร AH3 

               1.โมเลกุลมีขั้ว ละลายน้ำ จุดเดือดต่ำ

               2.เกิดพันธะไฮโดรเจน จุดเดือดสูง และละลายน้ำได้

               3.โมเลกุลไม่มีขั้ว และมีแรงแวนเดอร์วาลส์ (ลอนดอน) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล

                4.โมเลกุลไม่มีขั้ว แต่เกิดพันธะไฮโดรเจนได้

  12. สารในข้อใด เป็นโมเลกุลมีขั้ว  แต่ ไม่มี พันธะไฮโดรเจน

                1.  HF                     2.  NH3                      3. C2H5OH             4.  SO2



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Dr-wittaya
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.032779 sec.