krusunsanee Article
แบบฝึกหัดการจับใจความสำคัญ
แบบฝึกหัดการจับใจความสำคัญ
แบบฝึกหัดที่ 2 อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วเขียนเฉพาะใจความสำคัญ (ไม่ต้องลอกโจทย์)
1..“กล้วย เป็นพืชที่คนไทยรู้จักและนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานมากแล้ว กล้วยปลูกง่าย ดูแลง่าย ใบใช้ห่อของ ผลใช้กิน ลำต้นใช้เลี้ยงสัตว์ ดังนั้นเรามาปลูกกล้วยกันดีกว่าจะได้มีกล้วยกินกันทุกโรงเรียน”
2. ยีราฟ เป็นสัตว์ป่า มีขายาวจึงวิ่งเร็ว มันมีคอยาวเหมือนเสาไฟฟ้าจึงมองเห็นได้ไกล ๆ ยีราฟกินใบไม้เป็นอาหาร เรานำยีราฟจากเมืองอื่นมาเลี้ยงไว้ ในสวนสัตว์ เด็ก ๆ ชอบดูยีราฟในสวนสัตว์เพราะมีหน้าตาตลก
3. ดอกไม้ ไฟ คือ วัตถุสำหรับจุดในงานต่าง ๆ อาจทำด้วยกระดาษไม้อ้อหรือไม้ไผ่ ดอกไม้ไฟเหล่านี้เมื่อจุดไฟแล้วจะพ่นไฟออกมาในลักษณะต่าง ๆ กันบ้างก็อยู่กับที่ บ้างก็เคลื่อนที่มีสีสันสวยงาม บ้างก็มีเสียงดังมาก เชื่อกันว่าประเพณีจุดดอกไม้ไฟนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นเมืองหลวงของ ไทย
4. คน ขยันชอบทำงานและหมั่นหาความรู้ เพื่อจะได้ทำงานด้วยความฉลาด และรอบคอบ ดังตัวอย่างป้าแช่ม ป้าแช่มเป็นคนขยันจึงตื่นนอนแต่เช้าทำขนมกล้วย ขนมตาล และข้าวเหนียวสังขยาไปขายที่ตลาดป้าแช่มบอกกับ ใคร ๆ เสมอว่า ถ้าคนเราขยันทำงานมีระเบียบ รู้วิธีทำมาหากิน ก็จะไม่อดตาย
5. เด็ก ผู้ชายชอบเล่นฟุตบอล การเล่นฟุตบอลเป็นการออกกำลังกายที่ดี และเป็นกีฬาที่ฝึกให้เด็กเล่นเป็นหมู่ ผู้เล่นฟุตบอลต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าเราเล่นฟุตบอลแพ้เราก็ต้องยอมรับ และไม่โทษกันว่าใครเล่นไม่ดี ดังนั้นการเล่นที่ไม่โทษกันจึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา
6. ดนตรีไทยเป็นสัญญาณบอกถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในพิธีกรรม เช่น ในงานทำบุญเลี้ยงพระ เมื่อเพลงโหมโรงเช้าดังขึ้น ก็จะทราบกันว่าพระมาถึงแล้ว เวลาพระจะกลับปี่พาทย์ก็บรรเลงเพลงกราวรำ ในการเทศน์มหาชาติ ถ้าเล่นเพลงเซ่นเหล้าก็แสดงว่าจบการเทศน์กัณฑ์ชูชก แต่ละกัณฑ์จะมีเพลงประจำ เพลงเป็นสิ่งที่บอกให้เจ้าของกัณฑ์ต่อไปได้เตรียมตัวด้วยหรือในงานพระราชพิธี ถ้าแตรสังข์ดังขึ้นก็แสดงว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแล้ว ถ้าจะทรงลุกไปจุดเทียน ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลงสาธุการ ดังนั้นไม่ว่าพิธีกรรมตามขั้นตอนของชีวิต พิธีทางศาสนาหรือพระราชพิธีจะมีดนตรีไทยเป็นเครื่องบอกลักษณะ หรือขั้นตอนในพิธีเสมอ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๒๓,๗๔)
7. ในสังคมไทยมีการละเล่นมากมายหลายประเภทให้เด็กๆ ได้เล่นกันเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน เรามีการละเล่นของเด็กหญิง เช่น อีตัก ขายของ มีการละเล่นของเด็กชาย เช่น ลูกหิน ทอยกอง มีการละเล่นที่เล่นเป็นกลุ่ม เช่น มอญซ่อนผ้า โพงพาง เช้าๆ อยู่ในบ้านเด็กๆ ก็เล่นหมากเก็บ พอเย็นๆ แดดร่มลมตกก็ออกไปเล่นวิ่งเปี้ยว รีรีข้างสาร ชักคะเย่อ กันบริเวณลานบ้าน การละเล่นนั้นมีเพลงร้องประกอบ เช่น แม่งู จีจ่อเจี๊ยบ บางชนิดก็ไม่เป็นเพลง เช่น ห่วงยาว ขี่ม้าก้านกล้วย เด็กๆ ในสังคมไทยจะไม่ ”เหงา' เพราะมีของให้เล่น อยู่คนเดียวก็เล่นได้เช่น ไปเก็บใบไม้มาเล่นขายของ ถ้ามีเพื่อนสักคนก็เล่นแมงมุม เล่นจ้ำจี้ได้ เล่นเป่ายิงชุ้บได้ ถ้ามีเพื่อนเล่นหลายคนก็อาจชักชวนกันเล่นลิงชิงหลัก กาฟักไข่หรือวิ่งเปี้ยว (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๒๓,๑๙)
8. หลังจากลิเกบันตนก็เกิดมี ลิเกลูกบท ซึ่งเกิดจากมีผู้คิดนำเอาการแสดงลิเกเข้าไปผสมกับการบรรเลงปี่พาทย์ กล่าวคือในการบรรเลงปี่พาทย์แบบหนึ่งนั้น จะเริ่มร้องและบรรเลงเพลงสามชั้นก่อนเป็นเพลงแม่บท เมื่อจบแล้วจะหาเพลงสั้นๆ มาบรรเลงต่อท้ายเรียกว่า ลูกบท แล้วจึงออกลูกหมด เป็นอันว่าจบกระบวนในตอนหนึ่ง ในระหว่างที่ปี่พาทย์บรรเลงเพลงลูกบทซึ่งมักทำเป็นเพลงภาษาต่างๆ มีผู้คิดปล่อยผู้แสดงซึ่งแต่งตัวเป็นทำนองเดียวกับลิเกออกภาษามาแสดงประกอบแต่ใช้ปี่พาทย์รับแทนลูกคู่ที่ตีกลองรำมะนาในลิเกบันตน เมื่อหมดชุดผู้แสดงก็เข้าฉากไป ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงแม่บทต่อไปใหม่ และเมื่อถึงเพลงลูกบทเป็นภาษาใดก็ปล่อยตัวแสดงออกมาอีก (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๒๓, ๑๓๔)
9. ร้อนจัดหรือเย็นจัดเป็นสิ่งขัดขวางในการรู้รสอย่างมาก ถ้ามิตรไม่เคยกินอาหารร้อนจัดก็แสดงว่ามิตรไม่เคยรู้รสอาหารทุกรสในทำนองเดียวกัน ถ้าเราเอาก้อนน้ำแข็งวางบนลิ้น ตอนแรกจะรู้สึกเย็น แต่ลิ้นไม่รู้รสจนกว่าจะได้รับความอบอุ่น นั่นคือลิ้นจะรู้รสต่อเมื่อน้ำแข็งที่ใส่บนลิ้นละลาย (วิริยะ สิริสิงห ๒๕๒๕, ๘๔)
10. เห็นชื่อของโรคที่ทำให้ตายแล้วคงมีหลายคนไม่รู้จักโรคนี้ แม้พวกหมอเองก็เถอะ น้อยคนที่จะเคยได้ยินชื่อของโรคนี้ แต่คนที่เคยบวชเคยเรียนมาแล้วก็คงจะพอรู้จักกันบ้าง อีตอนที่กระทำพิธีขอบวชนั้น เมื่อเวลาที่องค์อุปัชฌาย์ถามว่า 'อปมาโร' นาคก็จะต้องตอบว่า 'นัตถิ ภันเต' อันว่า 'อปมาโรค' นี้แปลว่า 'ลมบ้าหมู' (เสนอ อินทรสุขศรี ๒๕๑๔,๘๔)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 0.93 MBs
Upload : 2013-05-27 20:05:57
ติชม
กำลังแสดงหน้า
1/0
<<
1
>>
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :
krusunsanee
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ภาษาไทย
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com
Generated 0.031182 sec.