K-Me Article


โครงสร้างอะตอม ตอนที่ 3 แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด (Rutherford’s atomic model)
              ในปี ค.ศ. 1911 (พ.ศ. 2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2453 - พ.ศ. 2468).  รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest  Rutherford คลิ้กอ่านประวัติ)  ได้ทำการทดลองร่วมกับฮันส์ไกเกอร์และเออร์เนสต์ มาร์ เดน    เพื่อพิสูจน์ว่าแบบจำลองอะตอมตามที่ทอมสันเสนอเอาไว้มีความเป็นไปได้หรือถูกต้องเพียงใด    สิ่งสำคัญที่รัทเทอร์ฟอร์ดใช้ในการทดลองก็คืออนุภาคอัลฟา (alpha particle ,α  ในยุคแรก ๆ เรียกว่ารังสีอัลฟา) อนุภาคอัลฟาเกิดจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี  (Radioactive Elements)    มีส่วนประกอบเหมือนนิวเคลียสของฮีเลียม    คือประกอบด้วย โปรตอน  2  ตัว   นิวตรอน  2  ตัว  ไม่มีอิเล็กตรอน  อนุภาคนี้จึงมีประจุ  2+   ตามจำนวนโปรตอน  มีมวลเท่ากับ  4  x 1.66 x 10-24  กรัม   (มากกว่ามวลของอิเล็กตรอนประมาณ 4,395 เท่า  มากกว่ามวลของโปรตอนประมาณ   4 เท่า)    ถ้าอนุภาคอัลฟาพุ่งกระทบฉากเรื่องแสงก็จะเกิดการเรืองแสงขึ้น 

                รัทเทอร์ฟอร์ดจินตนาการว่าถ้าอะตอมมีลักษณะดังที่ทอมสันเสนอเอาไว้   (ประกอบด้วยอิเล็กตรอนกับโปรตอนกระจายกันอยู่เต็มอะตอม)   เมื่อยิงอะตอมด้วยอนุภาคอัลฟ่าซึ่งมีมวลมากกว่าทั้ง โปรตอนและอิเล็กตรอน   อนุภาคอัลฟาทั้งหมดย่อมผ่านทะลุอะตอมไปได้  เพราะอัลฟามีมวลมากกว่าทั้งอิเล็กตรอนและโปรตรอน    ฉะนั้นเมื่ออัลฟาพุ่งชนก็จะไม่สามารถสกัดกั้นอัลฟาเอาไว้ได้    แต่ อาจมีการเสียทิศทางไปได้บ้าง    ดังรูป



                แต่ถ้าได้ผลการทดลองเป็นอย่างอื่น   ย่อมแสดงว่าแบบจำลองอะตอมของทอมสันน่าจะมีข้อผิดพลาด 

                อะตอมที่รัทเทอร์ฟอร์ดจะนำมาใช้ในการทดลองทำจากแผ่นทองคำที่บางมาก  เชื่อว่าจะมีอะตองของทองคำซ้อนกันอยู่ไม่กี่ชั้น     นำแผ่นทองคำดังกล่าวนี้มาล้อมเอาไว้ด้วยฉากเรืองแสงเพื่อใช้ สังเกตทิศทางของอัลฟา   

                ผลการทดลองปรากฏว่าอัลฟาเกือบทั้งหมดผ่านทะลุแผ่นทองคำไปได้เป็นแนวตรง  เหมือนไม่มีอะไรขวางกั้น   มีอยู่บางส่วนซึ่งน้อยที่ทะลุไปได้แต่ทิศทางเฉไป  แต่ที่ประหลาดใจคือนาน ๆ ครั้งจะ พบว่ามีอัลฟาสะท้อนกลับมาด้านหน้า  ดังรูป 

 

                ทอมสันอธิบายว่าการที่อัลฟาส่วนใหญ่ผ่านทะลุแผ่นทองคำไปได้เป็นแนวตรง      แสดงว่าอะตอมมีที่ว่างมาก  อัลฟาเกือบทั้งหมดจึงผ่านไปได้ในแนวตรง  อัลฟาบางส่วนที่ผ่านไปได้แต่มีทิศทางเฉ ไปน่าจะเป็นเพราะถูกผลักด้วยอนุภาคอื่นที่มีประจุบวกเหมือนกัน หรือจะเป็นการพุ่งชนแบบเฉียดฉิวกับอนุภาคที่มวลมากแต่มีขนาดเล็ก    แต่ที่สำคัญคือมีอัลฟาที่สะท้อนกลับมาด้านหน้าแต่น้อยมาก     อธิบายว่าไปชนแบบตรง ๆ   กับสิ่งที่มีมวลมากกว่าอัลฟา   จึงผ่านไปไม่ได้ทำให้สะท้อนกลับมา  แต่สิ่งที่อัลฟาพุ่งชนต้องมีขนาดเล็กการชนจึงเกิดขึ้นน้อย    รัทเทอร์ฟอร์ดจินตนาการว่าสิ่งนั้นเกิดจาก การรวมตัวของโปรตอนทั้งหมด    และความหนาแน่นมาก    เรียกว่านิวเคลียส  มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก  (ในขณะนั้นยังไม่พบนิวตรอน)   สำหรับอิเล็กตรอนซึ่งมีมวลน้อยจะโคจรอยู่รอบ ๆ นิวเคลียส  ดังรูป  (ทราบในตอนหลังว่านิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน)






               แบบจำลองดังที่รัทเทอร์ฟอร์ดเสนอขึ้นมานี้  ใช้อธิบายผลการทดลองของเขาได้  ดังรูป


                        จากรูปจะเห็นได้ว่าอัลฟาส่วนใหญ่จะผ่านไปได้เป็นแนวตรง  เพราะอะตอมมีที่ว่างมาก  อิเล็กตรอนที่โคจรอยู่ในบริเวณที่เห็นว่าเป็นที่ว่างนั้นไม่มีผลต่ออัลฟา  เพราะมีมวลต่างกันมาก (มวล ของอิเล็กตรอน = 9.1 x 10-28  กรัม  มวลของอัลฟา = 6.64 x 10-24 กรัม  ต่างกันประมาณ  7,296 เท่า)   อัลฟาที่วิ่งผ่านไปใกล้ ๆ นิวเคลียส  จะเกิดแรงผลักซึ่งกันและกันเพราะมีประจุบวกเหมือนกัน ทำให้ทิศทางเบนไป  และอัลฟาที่ชนกับนิวเคลียสตรง ๆ  จะสะท้อนกลับซึ่งโอกาสในการชนจะน้อยกว่าการวิ่งผ่านไปใกล้ ๆ  เพราะนิวเคลียสมีขนาดเล็กมาก  ทำให้อัลฟาส่วนที่สะท้อนกลับมาด้านหน้ามี น้อย

                                                                                      (คลิ้ก  ชมจินตนาการและการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด)

การพบนิวตรอน 

ปี ค.ศ. 1932  (พ.ศ. 2475   ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2468 - 2477) เจมส์ แชดวิกค์ (James Chadwick) คลิ้ก อ่านประวัติ ค้นพบนิวตรอน จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอนุภาค เบาคือ เบริลเลียม เมื่อถูกชนด้วยอนุภาคอัลฟา จะทำให้มีอนุภาคบางอย่างหลุดออกมา  อนุภาคดังกล่าวเป็นกลางทางไฟฟ้าคือไม่มีประจุไฟฟ้า (Neutral) จึงเรียกชื่ออนุภาคดังกล่าวว่านิวตรอน    (Neutron)  นอกจากนั้นยังมีผลการทดลองในรูปแบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับอนุภาคชนิดนี้อีกด้วย  เช่น  พบว่าไอออนบวกที่เกิดขึ้นในหลอดรังสีแคโทดเมื่อบรรจุแก๊สนีออนมีหลายชนิด  คือมีมวลไม่เท่ากัน  ทั้งที่แก๊สนีออนทุกอะตอมมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน  ในภายหลังจึงมาทราบว่าเป็นเพราะมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน   เรียกว่าเป็นไอโซโทปกัน 

         การค้นพบนิวตรอนของเจมส์ แชดวิกค์   ทำให้วงการวิทยาศาสตร์ทราบองค์ประกอบของอะตอมที่ถูกต้องยิ่งขึ้น  คือจากแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด  นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนอย่าง เดียว แต่เมื่อพบนิวตรอนทำให้ทราบว่านิวเคลียสประกอบด้วยทั้งโปรตอนและนิวตรอน  (ยกเว้นอะตอมของไฮโดรเจนบางไอโซโทปไม่มีนิวตรอน)    แต่อย่างไรก็ตามประจุไฟฟ้าของนิวเคลียส    จะเป็น ประจุบวกของโปรตอนทั้งหมดที่มีอยู่ในนิวเคลียสรวมกัน   ซึ่งจะเท่ากับประจุลบของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบรอบ ๆ นิวเคลียส   เมื่ออะตอมในภาวะปกติ 

อนุภาคมูลฐานของอะตอม (Elementary particles of atoms)
                อนุภาคมูลฐานของอะตอมหมายถึง อนุภาคที่เป็นส่วนประกอบเบื้องต้นของอะตอมต่าง ๆ   มี  3  ชนิดได้แก่
                1. อิเล็กตรอน    Electron  (e- )   ค้นพบโดย  ทอมสัน (พ.ศ.  2440 )
                2. โปรตอน        Proton    (p)  ค้นพบโดย   โกลด์ชไตน์  (พ.ศ. 2456)
                3. นิวตรอน        Neutron  (n)     ค้นพบโดย   แชดวิก ( พ.ศ. 2475  ) 

 สมบัติของอนุภาคมูลฐานของอะตอม
                อะตอมของธาตุต่าง ๆ  ประกอบด้วยอนุภาคสำคัญ  3  ชนิด  คือโปรตอน (p)  นิวตรอน (n)  และอิเล็กตรอน (e-)  ยกเว้นไฮโดรเจนไอโซโทปโปรเตียมไม่มีนิวตรอน  อนุภาคดังกล่าวนี้เรียกว่า อนุภาคมูลฐานของอะตอม  มีสมบัติดังนี้


อนุภาค


สัญลักษณ์


มวล (g)

มวลเปรียบเทียบ
กับ e

ประจุจริง
(คูลอมบ์)


ประจุสมมติ

proton 

p

1.672 x 10-24

มากกว่า
1836  เท่า

+1.602x10-19

+1

neutron

n

1.674 x 10-24

มากกว่า
1836  เท่า

0

0

electron

e-

9.109 x 10-28

1

-1.602x10-19

-1

นิวคลีออน (Nucleon)  หมายถึง  อนุภาคที่รวมกันเป็นนิวเคลียส  ซึ่งได้แก่โปรตอนกับนิวตรอน 


แบบฝึกหัด
1. Is the following sentence true or false? An alpha particle has a double positive charge
     because  it is a helium atom that has lost two electrons.
    (เมื่อกล่าวว่าอนุภาคอัลฟามีประจุบวก    2  ประจุ  แสดงว่ามันคืออะตอมของฮีเลียมที่เสียอิเล็กตรอนไป 
    2 ตัว  จะถูกหรือผิด )       ____________________

2.  Complete the table about the properties of subatomic particles  
      (จงเติมข้อมูลในตารางให้สมบูรณ์)

Properties of Subatomic Particles (สมบัติของอนุภาคในอะตอม)

Particle
(อนุภาค)

Symbol
(สัญลักษณ์)

Relative Electrical Charge
(ประจุไฟฟ้าสมมติ)

Actual Electrical Charge
(ประจุไฟฟ้าจริง)

Relative Mass
 (มวลเปรียบเทียบ)

Actual Mass (g)
(มวลที่แท้จริง)

Electron

 

 

 

 

 

Proton

 

 

 

 

 

Neutron

 

 

 

 

 


3.  Explain why in 1911 Rutherford and his coworkers were surprised when they shot a narrow
     beam   of alpha particles through a thin sheet of gold foil.

      (จงอธิบายว่าการยิงอนุภาคอัลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ ของรัทเทอร์ฟอร์ดและคณะเมื่อ ค.ศ.1911  มีผล
      การทดลองใดที่น่าประหลาดใจ)

4.  Circle the letter of each sentence that is true about the nuclear theory of atoms suggested by
     Rutherford’s experimental results.
     (จงวงรอบตัวอักษรหน้าข้อความที่ถูกต้อง  เกี่ยวกับผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด)
     a. An atom is mostly empty space.(อะตอมเป็นสิ่งมีแต่ความว่างเปล่า)
     b. All the positive charge of an atom is concentrated in a small central region called the nucleus.
         (อนุภาคที่มีประจุบวกรวมกันอยู่ในนิวเคลียส  ซึ่งมีความหนาแน่นมากและมีขนาดเล็ก)
     c. The nucleus is composed of protons and neutrons. (นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน)
     d. The nucleus is large compared with the atom as a whole. (นิวเคลียสมีขนาดใหญ่มากเมื่อ
         เปรียบเทียบกับขนาดของอะตอม)
     e. Nearly all the mass of an atom is in its nucleus. (มวลเกือบทั้งหมดของอะตอมเป็นมวลของ
         นิวเคลียส)

5.  Circle the letter of the term that correctly completes the sentence. Elements are different
     because  their atoms contain different numbers of ..................
    (สิ่งที่ทำให้อะตอมของธาตุต่างชนิดมีความแตกต่างกันคืออะไร)_______ .
     a. electrons                      b. protons                             c. neutrons                            d. nuclei

6. What is the charge of an alpha particle?   
    (อนุภาคอัลฟามีประจุไฟฟ้าชนิดใด) ......................................

7. Why is Rutherford’s experiment called the gold foil experiment?
    (เหตุใดจึงเรียกการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดว่า gold foil experiment )

8. How did he know that an atom was mostly empty space? 
    (เหตุใดรัทเทอร์ฟอร์ดจึงทราบว่าอะตอมมีที่ว่างมาก)................................................................................

9.  What happened to the alpha particles as they hit the gold foil?
    (เมื่ออนุภาคอัลฟาพุ่งชนแผ่นทองคำแล้วมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง)
........................................................................................................................................

........................................................................................................................................
 
10.  How did he know that the nucleus was positively charged?
       (เหตุใดรัทเทอร์ฟอรืดจึงทราบว่านิวเคลียสมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก) ...............................................................

11.   Compare  the  contrast  Thomson’s  plum  pudding  atomic  model  which  Rutherford’s  nuclear  atomic  model. 
(แบบจำลองอะตอมของทอมสันแตกต่างจากแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดอย่างไร)

....................................................................................................................................................

12.   What  caused  the  deflection  of  the  alpha  particles  in  Rutherford’s  gold  foil  experiment?

      (การที่อนุภาคอัลฟาสะท้อนกลับมาเมื่อกระทบกับแผ่นทองคำในการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด  เป็นเพราะเหตุใด)

..................................................................................................................................................................

 

13.   Which  statement  is  consistent  with  the  results  of  Rutherford’s  gold  foil  experiment?

       (ข้อไหนเป็นผลมาจากการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด)

     a.  All  atom  have  a  positive  charge. (อะตอมทั้งหลายมีประจุบวกอยู่ด้วย)

     b.  Atoms  are  mostly  empty  space. (อะตอมมีลักษณะเป็นที่ว่างเปล่าทั้งหมด)

      c.  The  nucleus  of  atom  contains  protons  and  electrons. 
     (นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วย โปรตอนและอิเล็กตรอน)

      d.  Mass  is  spread  uniformly  throughout  an  atom.
     (เนื้อของอะตอมกระจายอยู่ทั่วทั้งอะตอมอย่างสม่ำเสมอ)

 

14. Which  subatomic  particle  was  discovered  by  researchers  working  with  a  cathode  ray 

     tube?

    (การทดลองเรื่องหลอดรังสีแคโทดทำให้พบอนุภาคชนิดใดของอะตอม)

 

15.   According  to  Dalton’s  model, the  atom  is  a  solid  sphere.  What  would  the  alpha  particles  do  when  they  hit  the  gold  foil  if  Dalton  were  correct? 

(ถ้าอะตอมมีลักษณะดังแบบจำลองอะตอมที่ดอลตันเสนอแล้ว  เมื่ออนุภาคอัลฟาพุ่งไปกระทบแผ่นทองคำ บาง ๆ จะเกิดผลอย่างไร)


15.   According  to  Thomson,  the  atom  is  a  positively  charged  cloud  with  electrons  scattered  throughout.  What  would  the  alpha  particles  do  when  they  hit  the  foil  if  Thomson  were  correct? 

(ถ้าอะตอมมีลักษณะดังแบบจำลองอะตอมของทอมสัน  เมื่ออนุภาคอัลฟาพุ่งไปกระทบแผ่นทองคำบาง ๆ จะเกิดผลการทดลองอย่างไร)

 

16.   When  Rutherford  performed  his  experiment, only 1 in 20,000  alpha  particles  bounced  straight  back  or  were  deflexed  greatly.  The  rest  went  straight  througt  the  gold  foil. 

(ผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดพบว่า  มีอัลฟา  1 ใน 20,000 เท่านั้นที่สะท้อนกลับมาด้านหน้า  นอกนั้นทะลุผ่านไปได้  กรณีนี้รัทเทอร์ฟอร์ดสรุปว่าอย่างไร)

a.  What  does  this  indicate  about  the  probability  of  actually  hitting  anything?
(ผลการทดลองนี้บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ว่าอัลฟาพุ่งชนบางสิ่งบางอย่างเข้าแล้ว)

b.   What  does  this  indicate  about  the  size  of  whatever  has  been  hit  compared  to  the  size  of  the  gold  atom  in  the  foil?
(ผลการทดลองนี้บ่งบอกถึงขนาดของสิ่งที่อัลฟาพุ่งชนเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดอะตอมของทองคำว่าเป็นอย่างไร)

c.   Is  the  atom  mostly  solid  or  mostly  space?  How  do  you  know?
(คิดว่าอะตอมเป็นของแข็งทั้งก้อนหรือว่ามีแต่ที่ว่างทั้งหมด  ทราบได้อย่างไร)

d.   Considering  the  fact  that  alpha  particles  are  positively  charged, what  must  the  charge  be  on  whatever  deflected  them?  
(อนุภาคอัลฟามีประจุบวก จงพิจารณาว่าสิ่งที่ทำให้ทิศทางของอัลฟาเปลี่ยนไปควรมีประจุใด)

e.  Based  on  this  evidence,  what  is  in  an  atom’s  center?
(จากการทดลอง  ศูนย์กลางของอะตอมควรเป็นสิ่งใด)

      f.  Where  might  the  negatively  charged  electrons  be  located?
    (อิเล็กตรอนควรอยู่บริเวณใดของอะตอม)

g.  If  the  electron  and  proton  (the  positive  charged  particles)  are  not  near  each  other  in  the  atom, why  doesn’t  their  attraction  pull  them  together? [Hint: Why  doesn’t  the  Earth  get  pulled  into  the  sun?]
(อิเล็กตรอนกับโปรตอนของอะตอมอยู่ห่างกัน เหตุใดจึงไม่ดึงดูดเข้ามาอยู่ติดกัน  , แนะนำให้คิดเปรียบเทียบว่าเหตุใดโลกกับดวงอาทิตย์จึงไม่ดูดติดกัน)

 



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 213.20 KBs
Upload : 2014-03-15 14:19:07
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.554435 sec.