เรียนอย่างไรให้มีงานทำ
จากบทความของ สุพรรษา ทองทวี/ธนียา ศรีพัฒนาวัฒน์ ได้เขียนไว้ในเว็บไซด์ http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/interesting-facts/detail.php?IBLOCK_ID=70&SECTION_ID=10948&ELEMENT_ID=10948
ครูเห็นว่ามีประโยชน์จึงสรุปมาให้อ่านกันค่ะ
จากความเห็นของอาจารย์ และนักศึกษาที่หางานได้แล้ว รวมทั้งที่กำลังหางานหลังจบ พบว่า
ประการแรก ประเด็นสำคัญสำหรับการตลาดงานของผู้เรียนจบภาษาไทย หรือเรียนจบภาษาต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องของอุปสงค์กับอุปทาน แต่เป็นเรื่องของ mobility สำหรับนักศึกษา ว่าสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในที่อื่นๆ หรือเรียนรู้ทักษะการทำงานใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือไม่
ประการที่สอง ประเด็นสำคัญอีกด้านคือ ทักษะที่อาจไม่มีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ได้แก่ ทักษะด้านการทำงานและการติดต่อกับผู้อื่น เนื่องจากนักศึกษาภาษาต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะต้องทำงานที่มีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆ หรือต้องใช้ความรู้ในการถ่ายทอดถ้อยคำ ข้อความ โดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านวัฒนธรรมอีกด้วย
จากการสำรวจและสัมภาษณ์ สำหรับการพิจารณาทักษะของนักศึกษาผู้เรียนจบภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศแล้ว บริษัทในส่านซีให้ความสำคัญเรียงลำดับได้ ดังนี้ (1) ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้เกี่ยวกับงานที่ตนรับผิดชอบ (2) ทักษะการทำงานทั่วไปที่ดี และรองลงมา (3) ทักษะด้านภาษา และ (4) การทำงานเป็นทีม
ท้ายสุดนี้ อาจารย์ Qiu Xiaoxia ได้ฝากเพิ่มเติมว่า มารยาทและความอ่อนน้อม ความยิ้มแย้มแจ่มใส และอารมณ์ขัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยที่นักศึกษาชาวจีนสามารถซึมซับ ได้จากการเรียนภาษาไทยก็เป็นอีกสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้นักศึกษามีข้อได้เปรียบในตลาดการหางานเช่นกัน
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ Qiu Xiaoxia (อ.เล็ก) อาจารย์วาด และนักศึกษาชั้นปีที่สี่ มหาวิทยาลัยการศึกษาต่างประเทศซีอาน
พฤษภาคม 2555
สุพรรษา ทองทวี/ธนียา ศรีพัฒนาวัฒน์
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ประชาสัมพันธ์ข่าวสกญ. ณ นครซีอานร่วมงานสัปดาห์ไทย ที่มหาวิทยาลัยการศึกษาต่างประเทศ ธันวาคม 2554
ครูเห็นว่าน่าสนใจจึงสรุปให้นักเรียนได้อ่านกันค่ะ หรือหาสนใจอ่านเพิ่มเติมก็ลิงค์ไปที่ เว็บข้างต้นได้เลยค่ะ การศึกษาปริญญาตรีภาษาไทย และบริษัทต่างๆ พบว่า
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
|
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
|
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
ภาษาต่างประเทศ
|
|
|