ปีใหม่ไทย
วันขึ้นปีใหม่ คือวันแรกของปี มักจะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ และนับเป็นวันสำคัญของปี ปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ สากล ตามปฏิทินเกรกอเรียน และถือเป็นวันหยุดต่อมาจากวันสิ้นปี
[แก้ไข] หมายของวันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ' ปี' ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
[แก้ไข] ความเป็นมาของวันขึ้นปีใหม่
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละชาติที่ใช้ปฏิทินแบบอื่น ก็จะมีวันขึ้น ปีใหม่ ที่แตกต่างกันไป เช่น วันตรุษจีน วันสงกรานต์ เป็นต้น ในประเทศไทย ทางราชการให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
[แก้ไข] ส.ค.ส. พระราชทาน วันขึ้นปีใหม่
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2530 พระราชทานเป็นปีแรก ทรงยังใช้คำว่า กส.9 ปรุ
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2531 ทรงสอนให้ทุกคนคิดและทำในสิ่งที่ดี เพื่อให้บังเกิดแต่สิ่งดีๆ ในชีวิต
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2532 ทรงให้นิยาม 4 ประการของความสุข ว่าคือความปรารถนาดีต่อกัน ความอนุเคราะห์ ความยินดี ความสงบ
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2533 ทรงให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีสติ และปัญญา
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2534 ทรงชี้ให้คนไทยใช้ความเพียร อดทน สติ และปัญญา
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2535 ทรงให้คนไทยมุ่งทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2536 ทรงเน้นเรื่องการมองปัญหาให้ชัดเจนและตรงจุด การมีสติ คิดและทำอย่างสร้างสรรค์
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2537 ทรงกล่าวถึงโครงการตามพระราชดำริ เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรในกรุงเทพ
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2538 ทรงให้ข้อคิดในการร่วมมือกันทำงาน เกี่ยวกัยการพูด การฟัง
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2539 ทรงให้คนไทยตั้งมั่นอยู่ในความสมดุลในการแก้ปัญหา และการประสานประโยชน์เพื่อประเทศชาติ
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2540 ทรงกล่าวถึงพลังความคิด และให้คติในการพูด การคิด และการทำ
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2541 ทรงพระราชทานกำลังใจ ในการต่อสู้วิกฤตเศรษฐกิจ
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2542 ทรงให้คนไทยมีความเพียร เช่นเดียวกับพระมหาชนก และทรงเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงว่าคือทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2543 ทรงกล่าวถึงการเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ และให้มองโลกในแง่ดี
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2544 ทรงให้ทบทวนบทเรียนจากอดีต เพื่อเตรียมตัวฟันฝ่าปัญหาในอนาคต และตั้งมั่นอยู่ในความดี และความสุจริตใจ
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2545 ทรงกล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งกัน ขัดแข้ง ขัดขา และให้แก้ปัญหาโดยใช้หัว คือสมอง ควบคุมทุกส่วนของตัว รวมทั้ง ขาให้อยู่ในระเบียบ
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2546 ทรงกล่าวถึงสุนัขทรงเลี้ยง ว่าเป็นเพื่อนที่ดี
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 254๗ ทรงกล่าวถึงเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทรงให้คนไทยมีความรักสามัคคีกัน
ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2549 เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สีเขียว มีภาพปักรูปคุณทองแดงที่กระเป๋าด้านซ้าย ทรงฉายคู่กับคุณทองแดง
ส.ค.ส. พระราชทาน เป็น ส.ค.ส. หรือ บัตรส่งความสุข ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน (ยกเว้น พ.ศ. 2548)
ในวันขึ้นปีใหม่ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระราชทาน พรปีใหม่ แก่พสกนิกรผ่านทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ทุกแห่ง นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลีกเวลามาปรุแถบเทเล็กซ์ หรือโทรพิมพ์ พระราชทานพรปีใหม่แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ กส.9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางเครื่องรับ-ส่งวิทยุ ระบุว่า กส.9 ปรุ ท้ายเทเล็กซ์
เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ ทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ และแฟกซ์พระราชทานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ โดยข้อความที่ปรากฏอยู่ใน ส.ค.ส.พระราชทาน แต่ละปี จะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมือง สะท้อนให้เห็นถึงปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศชาติต้องประสบในรอบระยะ 1 ปีที่ผ่านมา และในปีต่อๆ มาได้มีการนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง
ท้าย ส.ค.ส. พระราชทานทุกฉบับ จะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น และระบุว่า ก.ส.9 ปรุง
[แก้ไข] คติข้อคิดในวันปีใหม่
เมื่อวันเวลาผันเปลี่ยนเวียนไปครบ 1 ปี เราได้อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงวันขึ้นปีใหม่ ขอให้ลองมองย้อนหลังกลับไปคิดดูว่า วันเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ใช้มันอย่างคุ้มค่าหรือเปล่า และได้กระทำคุณงามความดีอันใดไว้บ้าง ควรหาโอกาสกระทำให้ยิ่งขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันเราได้กระทำความผิดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องไว้หรือไม่ หากมีต้องรีบปรับปรุงแก้ไขตัวเอง
[แก้ไข] กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
[แก้ไข] การทำบุญวันขึ้นปีใหม่
เมื่อใกล้ถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ
ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ไปวัดเพื่อประกอบกิจกุศลต่างๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฎิบัติธรรม แต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงเป็นที่ครื้นเครงสนุกสนาน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
เช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยือนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน
สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้าน หรือจัดมหรสพมาฉลอง
[แก้ไข] เพลงวันปีใหม
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
Size : 12.45 KBs
Upload : 2012-12-03 13:24:22
|
|
ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?
|
สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ภาษาไทย
|
|
|