K-Me Article


สมบัติของธาตุและสารประกอบ ตอนที่ 4 ธาตุแทรนซิชัน

ธาตุแทรนซิชัน (transition elements)

              ตำแหน่งของธาตุแทรนซิชันในตารางธาตุ  อยู่ระหว่างหมู่ IIA และ IIIA ประกอบด้วยธาตุหมู่  IB ถึงหมู่VIIIB รวม ทั้งกลุ่มแลนทาไนด์กับกลุ่มแอกทิไนด์ ดังรูป 

 

  

 

สมบัติของธาตุแทรนซิชัน 

 

ธาตุแทรนซิชันทุกธาตุเป็นโลหะ แต่มีความแข็งแรง  เหนียวและทนทานกว่าโลหะหมู่  A  ในที่นี้จะศึกษาสมบัติของธาตุแทรนซิชันเฉพาะคาบที่  4  เป็นธาตุคาบแรกที่มีธาตุแทรนซิชัน  ประกอบด้วยธาตุที่มีเลขเชิงอะตอม  19  ถึง  36  ธาตุแทรนซิชันที่อยู่ในคาบนี้คือธาตุที่มีเลขเชิงอะตอมตั้งแต่  21-30  ธาตุสแกนเดียม  (Sc) เป็นธาตุแทรนซิชันที่มีเลขเชิงอะตอมต่ำสุด  ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางเปรียบเทียบสมบัติของโลหะหมู่  A กับโลหะแทรนซิชันคาบที่ 4 

 

ธาตุ\สมบัติ

เลขเชิง
อะตอม

รัศมีอะตอม
ในโลหะ(pm)

จุดหลอมเหลว
(oC)

จุดเดือด
(oC)

ความหนาแน่น
(g/cm3)

IE1
(kJ/mol)

อิเล็กโตร
เนกาติวิตี

K

19

227

64

760

0.86

425

0.82

Ca

20

197

839

1490

1.54

596

1.00

Sc

21

160

1540

2730

3.0

632

1.36

Ti

22

150

1680

3260

4.5

661

1.54

V

23

140

1900

3400

6.1

648

1.63

Cr

24

130

1890

2480

7.2

653

1.66

Mn

25

140

1240

2100

7.4

716

1.55

Fe

26

130

1535

2750

7.9

762

1.83

Co

27

130

1500

2900

8.9

757

1.88

Ni

28

130

1450

2730

8.9

736

1.91

Cu

29

130

1080

2600

8.9

908

1.90

Zn

30

130

420

910

7.1

577

1.65

 

สมบัติของโลหะแทรนซิชันเมื่อเปรียบเทียบกับโลหะหมู่  1A  IIA  มีความแตกต่างกันดังนี้ 

1.  โลหะแทรนซิชันส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นสูงกว่าโลหะหมู่   IA , IIA 
  
                               (คลิ้กชมวีดีทัศน์แสดงอุตสาหกรรมการถลุงเหล็กตั้งแต่ต้นจนจบ)

2.   โลหะแทรนซิชันมีค่า  IE1 สูงกว่าโลหะหมู่  IA , IIA  ทำให้ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาน้อยกว่า
      โลหะหมู่  IA , IIA
3.   โลหะแทรนซิชันมีรัศมีอะตอมใกล้เคียงกัน   แต่รัศมีอะตอมสั้นกว่าธาตุหมู่  IA , II A  และแนวโน้มใน
       การเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่แน่นอน 

4.   โลหะแทรนซิชันมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงกว่าโลหะหมู่  1A  2A  จึงเสียอิเล็กตรอนยากกว่า  ทำให้
       ความไวในการเกิดปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุหมู่  1A  2A

 

การจัดอิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชัน 

          ธาตุแทรนซิชันมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เกิน  1  หรือ  2  ไม่ว่าจะอยู่หมู่ใด    ถ้าดูเฉพาะเวเลนซ์อิเล็กตรอนจะเหมือนธาตุหมู่  1A  หรือ  2A  แต่ต่างกันที่จำนวนอิเล็กตรอนชั้นที่อยู่ถัดเข้าไป  คือถ้าเป็นโลหะหมู่  1A  หรือ  2A  อิเล็กตรอนชั้นที่ถัดจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนเข้าไปจะเท่ากับ  8  แต่ถ้าเป็นโลหะแทรนซิชันจำนวนอิเล็กตรอนของชั้นที่ถัดจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนเข้าไปจะมีจำนวนไม่แน่นอน  การจัดอิเล็กตรอนของโลหะแทรนซิชันคาบที่  4  เป็นดังนี้

 

 

ตารางแสดงการจัดอิเล็กตรอนเปรียบเทียบระหว่างธาตุ  IA , II A , (K,Ca) กับธาตุแทรนซิชันคาบที่ 4

ธาตุ

เลขเชิงอะตอม

การจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย

จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน

K

19

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6  3d0 4s1

หรือ [Ar]  3d0 4s1

2, 8, 8, 1

Ca

20

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d0 4s2

หรือ [Ar]  3d0 4s2

2, 8, 8, 2

Sc

21

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d1 4s2

หรือ [Ar]  3d1 4s2

2, 8, 9, 2

Ti

22

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d2 4s2

หรือ [Ar]  3d2 4s2

2, 8, 10, 2

 

V

 

23

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d3 4s2

หรือ [Ar]  3d3 4s2

2, 8, 11, 2

Cr

24

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d5 4s1

หรือ [Ar]  3d5 4s1

2, 8, 13, 1

Mn

25

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d5 4s2

หรือ [Ar]  3d5 4s2

2, 8, 13, 2

 

Fe

 

26

 

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d6 4s2

หรือ [Ar]  3d6 4s2

 

2, 8, 14, 2

Co

27

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d7 4s2

หรือ [Ar]  3d7 4s2

2, 8, 15, 2

Ni

28

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d8 4s2

หรือ [Ar]  3d8 4s2

2, 8, 16, 2

Cu

29

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d10 4s1

หรือ [Ar]  3d10 4s1

2, 8, 18, 1

Zn

30

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d10 4s2

หรือ [Ar]  3d10 4s2

2, 8, 18, 2

 

 

สารประกอบของโลหะแทรนซิชัน 

 

          สารประกอบของโลหะแทรนส่วนใหญ่จะมีสี  (คลิ้กชมภาพแสดงสีของสารละลายของสารประกอบของโลหะแทรนซิชัน)  ในขณะที่สารประกอบของโลหะหมู่  A  และสารละลายของสารประกอบของโลหะหมู่  A  จะใสไม่มีสี ยกเว้นสารประกอบของ  Pb  เป็นโลหะหมู่  4A  แต่มีทั้งชนิดที่มีสีและไม่มีสี   (คลิ้กชมภาพเปรียบเทียบสีของสารละลายของสารละลายของโลหะแทรนซิชันกับโลหะหมู่ A)  พบว่าสีของธาตุแทรนซิชันจะสัมพันธ์กับเลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชันนั้น ๆ   ดังตัวอย่าง  

 

ตัวอย่างสีของสารประกอบและ ไอออนของธาตุแทรนซิชันบางชนิดกับเลขออกซิเดชัน

 

สูตร 

ชื่อ 

เลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชัน

สี 

ScCl3

สแกนเดียม (III) คลอไรด์

+3

ไม่มีสี(ขาว)
(คลิ้กชมได้)

Sc2S3

สแกนเดียม (III) ซัลไฟด์

+3

เหลือง
(คลิ้กชมได้)

TiCl2

ไททาเนียม (II) คลอไรด์

+2

ดำ
(คลิ้กชมได้)

TiS

ไททาเนียม (II) ซัลไฟด์

+2

น้ำตาล
(คลิ้กชมได้)

TiF3 , TiCl3

ไททาเนียม (III) ฟลูออไรด์ , คลอไรด์

+3

ม่วง
(คลิ้กชมได้)

TiO

ไททาเนียม (II) ออกไซด์

+2

บรอน
(คลิ้กชมได้)

Cr2+

โครเมียม (II) ไอออน

+2

น้ำเงิน
(คลิ้กชมได้)

Cr3+

โครเมียม (III) ไอออน

+3

เขียว
(คลิ้กชมได้)

CrO42-

โครเมตไอออน

+6

เหลือง
(คลิ้กชมได้)

Cr2O72-

ไดโครเมตไอออน

+2

ส้ม
(คลิ้กชมได้)

Mn2+

แมงกานีส (II) ไอออน

+2

ชมพูอ่อน
(คลิ้กชมได้)

Mn(OH)3 *

แมงกานีส (III) ไฮดรอกไซด์

+3

น้ำตาล
(คลิ้กชมได้)

MnO2 *

แมงกานีส (IV) ออกไซด์

+4

ดำ
(คลิ้กชมได้)

MnO42-

แมงกานเนตไอออน

+6

เขียว
(คลิ้กชมได้)

MnO4-

เปอร์แมงกาเนตไอออน

+7

ม่วงแดง
(คลิ้กชมได้)

FeO

ไอร์ออน(II)ออกไซด์

+2

ดำ
(คลิ้กชมได้)

Fe2O3

ไอร์ออน(III)ออกไซด์

+3

น้ำตาลแดง
(คลิ้กชมได้)

FeSO4

ไอร์ออน(II)ซัลเฟต

+2

น้ำเงินเขียว
(คลิ้กชมได้)

CoO

โคบอลต์(II)ออกไซด์

+2

ดำ
(คลิ้กชมได้)

Co2O3

โคบอลต์(III)ออกไซด์

+3

ดำ
(คลิ้กชมได้)

Co(OH)2

โคบอลต์(II)ไฮดรอกไซด์

+2

น้ำเงินเข้ม
(คลิ้กชมได้)

NiF2

นิกเกิล(II)ฟลูออไรด์

+2

เหลือง
(คลิ้กชมได้)

NiO

นิกเกิล(II)ออกไซด์

+2

เขียว
(คลิ้กชมได้)

Ni2S3

นิกเกิล(III)ซัลไฟด์

+3

เขียว
(คลิ้กชมได้)

CuSO4

คอปเปอร์(II)ซัลเฟต

+2

สีน้ำเงิน
(คลิ้กชมได้)

CuF

คอบเปอร์(I)ฟลูออออไรด์

+1

ไม่มีสี
(คลิ้กชมได้)

ZnO

ซิงค์ออกไซด์

+2

ขาว
(คลิ้กชมได้)

ZnS

ซิงค์ซัลไฟด์

+2

ขาว
(คลิ้กชมได้)

* ไม่ละลายน้ำ 

เราไม่สามารถสรุปได้ว่าธาตุแทรนซิชันชนิดเดียวกัน  เมื่ออยู่ในสารประกอบต่างชนิดแต่มีเลขออกซิเดชันเท่ากัน  จะต้องมีสีเหมือนกันเสมอไป  เช่น  ScCl3  กับ  Sc2S3  เลขออกซิเดชันของ  Sc  ในสารประกอบทั้ง  2 ชนิด = +3  แต่สีของสารประกอบไม่เหมือนกัน 
                แต่อย่างไรก็ตามมีธาตุแทรนซิชันจำนวนมากที่อยู่ในสารประกอบต่างชนิด  แต่มีเลขออกซิเดชันเท่ากัน  พบว่ามีสีเหมือนกัน  เช่น  CuSO4   Cu(NO3)2   กรณีนี้  Cu  มีเลขออกซิเดชัน  = +2  เท่ากันและพบว่ามีสีน้ำเงินเหมือนกัน (คลิ้กชมได้)  ( Cu  ถ้ามีเลขออกซิเดชัน  = +1  จะไม่มีสี)   (คลิ้ก ดูรูปสีของสารประกอบของธาตุแทรนซิชัน)

  •  สีของสารประกอบของธาตุแทรนซิชันคาบที่  4  เกิดจากการที่อิเล็กตรอนในระดับพลังงาน  3d  มีไม่เต็ม

การที่ธาตุแทรนซิชันมีสีต่าง ๆ กันเมื่อมีเลขออกซิเดชันเปลี่ยนไป   ทำให้ทราบขั้นตอนในการเกิดปฏิกิริยาของธาตุแทรนซิชัน  โดยสังเกตจากการเปลี่ยนสี   เช่น  โครเมียม  (Cr)  เมื่อมีเลขออกซิเดชัน  +6  จะมีสีส้ม  แต่ถ้ามีเลขออกซิเดชัน  +3  จะมีสีเขียว   ถ้าเราต้องการเปลี่ยน  Cr2O72-  ซึ่ง  Cr  มีเลขออกซิเดชัน  +6  (สีส้ม)  ให้เป็น  Cr3+  (สีเขียว)    โดยให้  Cr2O72-  ทำปฏิกิริยากับ  H2O2  ดังสมการ

     Cr2O72- (aq)  +  H2O2(aq)                 →        Cr3+(aq)  +  H2O(g)  +  ….

      สีส้ม                 ไม่มีสี                                   สีเขียว          ไม่มีสี

   ในการเกิดปฏิกิริยานี้ถ้าสารละลายเปลี่ยนจากสีส้มเป็นสีเขียวอย่างสมบูรณ์  ย่อมแสดงว่า  Cr2O72- เปลี่ยนเป็น  Cr3+ ตามต้องการ

           แมงกานีส (Mn)  เป็นธาตุแทรนซิชันที่เกิดสารประกอบได้หลายชนิด  มีเลขออกซิเดชันหลายค่าและมีสีต่าง  ๆ  กันไป  เช่น 

 

สารประกอบของ  Mn

เลขออกซิเดชันของ  Mn

สี

KMnO4

+7

ม่วง

K2MnO4

+6

เขียว

MnO2

+4

เหลือง , ดำ

 

                  ถ้าเรามีสารละลาย  KMnO4  สารละลายจะเป็นสีม่วง  จากนั้นเติมสารละลายอื่น ๆ เพื่อให้ทำปฏิกิริยากัน  มีผลให้   KMnO4    กลายเป็นสารประกอบชนิดใหม่ที่เลขออกซิเดชันไม่เท่าเดิม  สีจึงเปลี่ยนไป  เราสังเกตจากสีที่เปลี่ยนจะทราบว่าปฏิกิริยาก้าวหน้าไปถึงขั้นใด  เช่น  เติมสารละลาย  NaOH  กับสารละลาย  C12H22O11  ลงในสารละลาย  KMnO4  แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนสี  จะพบว่ามีการเปลี่ยนสีจากสีม่วงเป็รนสีเขียวและสีเหลืองตามลำดับ  แสดงว่ามีปฏิกิริยาเกิดขึ้น  2  ขั้นตอน  ทำให้สารประกอบของ  Mn  เปลี่ยนจาก  KMnO4  เป็น  K2MnO4  และ  MnO2  ตามลำดับ

 (คลิ้ก ชมวีดีทัศน์แสดงปฏิกิริยาของ  KMnO4 กับ NaOH + C12H22O11)

 

การที่ธาตุแทรนซิชันมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า  เป็นเพราะการจัดอิเล็กตรอนมีลักษณะพิเศษต่างจากธาตุหมู่  A  ถ้าเป็นธาตุแทรนซิชันคาบที่  4  ความพิเศษอยู่ที่  3d  กับ  4s  (คาบ 5 อยู่ที่  4d  กับ  5s  และต่อ ๆ ไป ) เช่น โครเมียม   ( Cr )   เมื่ออยู่ในภาวะปกติและเมื่ออยู่ในสารประกอบต่าง ๆ จะมีการจัดอิเล็กตรอนดังนี้ 

 

โครเมียม

การจัดเรียงอิเล็กตรอน

เลขออกซิเดชัน

ตัวอย่างสาร

24Cr

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6  3d5 4s1

หรือ [Ar] 3d5 4s1

 

0

Cr

24Cr+

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6  3d5 4s0

หรือ [Ar]  3d5 4s0

 

 

+1

 

ไม่พบในธรรมชาติ

24Cr2+

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6  3d4 4s0

หรือ [Ar]  3d4 4s0

 

+2

CrO

24Cr3+

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d3 4s0

หรือ [Ar]  3d3 4s0

 

+3

CrCl3

 

 

24Cr4+

 

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d2 4s0

หรือ [Ar]  3d2 4s0

 

 

 

+4

 

 

CrI4

24Cr5+

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d1 4s0

หรือ [Ar]  3d1 4s0

 

+5

CrF5

24Cr6+

1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d0 4s0

หรือ [Ar]  3d0 4s0

 

+6

CrO3

 

จากตาราง จะเห็นว่า โครเมียมมีเลขออกซิเดชันได้ตั้งแต่  0  ถึง +6   อะตอมจะเสียอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดก่อน คือ 4s ก่อน  จากนั้นจึงเสียอิเล็กตรอนที่ระดับพลังงาน 3d  ทำให้โครเมียมมีเลขออกซิเดชันหลายค่า   ธาตุแทรนซิชันอื่น ๆ ก็จะมีสมบัติทำนองเดียวกันนี้  จึงมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่าและเกิดสารประกอบได้หลายชนิดเช่นกัน

แม้ว่าธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่จะมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า  แต่ก็มีธาตุแทรนซิชันบางธาตุมีเลขออกซิเดชันค่าเดียว  ดังตารางต่อไปนี้  แสดงเลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชันคาบที่  4 

 

  • เลขออกซิเดชันที่มีวงกลมล้อมรอบเป็นค่าที่พบได้มากในสารประกอบของธาตุนั้น ๆ

 

สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน (complex compound)   หรือประกอบโคออร์ดิเนชัน (coordination compounds)

สารประกอบของธาตุแทรนซิชันมี  2  แบบ  คือสารประกอบทั่วไป  เช่น  CuSO4  และสารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันหรือประกอบโคออร์ดิเนชัน  เช่น  [ Cu ( NH3 ) 4]SO4    

สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันประกอบด้วย  ไอออนเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน (complex ion)  ร่วมกับไอออนอื่น ๆ หรือไอออนเชิงซ้อนร่วมกับไอออนเชิงซ้อนด้วยกันก็ได้   ไอออนเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันประกอบด้วย  อะตอมหรือไอออนของโลหะแทรนซิชันอยู่ตรงกลาง   เรียกว่า  central atom  หรือ  central ion มีกลุ่มของไอออนหรือโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวล้อมรอบ  เรียกว่า  ligands   ระหว่างอะตอมกลางกับอะตอมที่ล้อมรอบจะสร้างพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ซึ่งกันและกัน  (เป็นลักษณะของกรด-เบส  ตามทฤษฎีของลิวอิส  ซึ่งกล่าวว่า  กรดคืออนุภาคที่รับคู่อิเล็กตรอนจากสารอื่น  เบสคืออนุภาคที่ให้คู่อิเล็กตรอนแก่สารอื่น  )  จำนวนลิแกนด์ที่สร้างพันธะกับอะตอมหรือไอออนกลาง  (ล้อมรอบอะตอมกลาง)  เรียกว่า เลขโคออร์ดิเนชัน

( coordination number)  เช่น  Co3+ ถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของ  NH3  จำนวน  6  โมเลกุล  ดังรูป

 

 

สารประกอบเชิงซ้อนต่าง ๆ อะตอมกลางจะเป็นไอออนบวกของโลหะ  จึงเป็นฝ่ายรับอิเล็กตรอนจากโมเลกุลหรือไอออนที่ล้อมรอบ  ฉะนั้นโลหะที่เป็นอะตอมกลางจึงมีสมบัติเป็นกรดตามทฤษฎีของลิวอิส  ในขณะที่อนุภาคที่ล้อมรอบทำหน้าที่เป็นเบส   อนุภาคที่ล้อมรอบอะตอมกลางในไอออนเชิงซ้อน มี  2 ประเภทคือ 

  1. ไอออนที่มีประจุลบ ได้แก่ เฮไลด์ไอออน  เช่น  F-, Cl-, Br- , I- และไอออนอื่น ๆ  เช่น
    OH-, CN-, SCN-  เป็นต้น  ให้สังเกตว่าไอออนเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันที่เกิดจากไอออนของธาตุ
    แทรนซิชันถูกล้อมรอบด้วยไอออนลบ  ไอออนเชิงซ้อนดังกล่าวจะเป็นไอออนลบ  เช่น  [Fe(CN)6]3-  MnO4-  CrO42-  Cr2O72- 
  2. โมเลกุลที่เป็นกลางที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว   เช่น  H2O , NH3 , CO, NO  ให้สังเกตว่าไอออนเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน  ที่เกิดจากไอออนของธาตุแทรนซิชันถูกล้อมรอบด้วยอะตอมที่เป็นกลาง  ไอออนเชิงซ้อนจะมีประจุบวก  เช่น   Cu(NH3)42+

 

ตัวอย่าง  ไอออนเชิงซ้อนที่มีประจุเป็นลบ  จะมีกลุ่มไอออนที่มีประจุลบล้อมรอบ   และไอออนเชิงซ้อนที่มีประจุเป็นบวกจะมีโมเลกุลที่เป็นกลางล้อมรอบ

 

                               

                                                                                                        

 

 

ตัวอย่างสารประกอบเชิงซ้อน 

 

  1. สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากไอออนเชิงซ้อนบวกกับไอออนลบ เช่น 

        [ Co ( NH 3 ) 6 ]Cl3    ประกอบด้วย  [ Co ( NH 3 ) 6 ]3+  +  3Cl- 

  1. สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากไอออนเชิงซ้อนลบกับไอออนบวก เช่น K3 [ Fe (CN) 6 ]     ประกอบด้วย  3 K+ +  [ Fe (CN) 6 ]3- 
  2.  สารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดจากไอออนเชิงซ้อนบวกกับไอออนเชิงซ้อนลบ เช่น              
     [ Cu( NH3 )4 ] [ Ni ( CN ) 4 ]   ประกอบด้วย   [ Cu ( NH3 ) 4 ]2+ + [ Ni (CN) 4 ]2+ 

 

การเตรียมสารประกอบเชิงซ้อนของธาตุทองแดง 

 

                การเตรียมสารประกอบเชิงซ้อนของทองแดง เช่น เฮกซะแอมมีนคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต เตรียมโดยนำ CuSO4 .5H2O ซึ่งเป็นผลึกสีฟ้าละลายน้ำ แล้วเติม  NH3 และเอทานอลจะได้ผลึกสีครามเข้ม ดังสมการ     CuSO4 .5H2O + 4NH3     →      Cu ( NH3 )4SO4 . H2O + 4H2O

          คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต                       เตตระแอมมีนคอปเปอร์(II) ซัลเฟต
                     (สีฟ้า)                                                    (สีครามเข้ม)

 

         เมื่อเก็บผลึกเตตระแอมมีนคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตไว้ข้ามคืน สารนี้จะเปลี่ยนเป็นสารสีเขียวแกมฟ้า เพราะที่อุณหภูมิ 30 oC เตตระแอมมีนคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตจะแยกสลายให้น้ำ และแอมโมเนียอย่างละ 1 โมเลกุล ได้สารใหม่ คือ

Cu( NH3 )4SO4 . H2O      →   Cu( NH3 )3SO4 + NH3 + H2O

       สีครามเข้ม                         สีเขียวแกมฟ้า
      (คลิ้กชมได้)                        (คลิ้กชมได้)

         ถ้าพิจารณาเลขออกซิเดชันของทองแดงในสารประกอบทั้ง 3 ชนิดจะพบว่ามีค่า +2 เท่ากัน แต่จำนวนลิแกนที่ล้อมรอบ  Cu2+  มีไม่เท่ากัน  ตัวอย่างสารประกอบเชิงซ้อนของธาตุอื่น ๆ แสดงในตาราง

ตัวอย่างสารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันบางชนิดและไอออนองค์ประกอบ 

 

ลำดับที่

สารประกอบเชิงซ้อน

สีของสารประกอบ

ไอออนลบ

ไอออนบวก

1

KMnO4

ม่วง
(คลิ้กชมได้)

MnO4 -

K +

2

K2MnO4

เขียว
(คลิ้กชมได้)

MnO4 2-

K +

3

K2Cr2O7

ส้ม
(คลิ้กชมได้)

Cr2O7 2-

K +

4

K2CrO4

เหลือง
(คลิ้กชมได้)

CrO42-

K +

5

PbCrO4

เหลือง
(คลิ้กชมได้)

CrO42-

Pb 2+

6

K3 [ Fe (CN) 6 ]

เหลือง
(คลิ้กชมได้)

[ Fe (CN) 6 ] 3-

K +

7

K4 [ Fe (CN) 6 ]

เหลืองส้ม
(คลิ้กชมได้)

[ Fe (CN) 6 ] 4-

K +

8

Cu2 [ Fe (CN) 6 ]

น้ำตาลแดง
(คลิ้กชมได้)

[ Fe (CN) 6 ] 4-

Cu 2+

9

[Co ( NH3 ) 6 ] Cl3

ส้ม
(คลิ้กชมได้)


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


Size : 32.63 KBs
Upload : 2013-08-30 04:56:09
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.845561 sec.