K-Me Article


เซลล์ทุติยภูมิ (Secondary cell)

เซลล์ทุติยภูมิ (Secondary cell)

1.เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว (Lead storage cell)

                 ส่วนประกอบสำคัญคือขั้วไฟฟ้าทำด้วยตะกั่ว (Pb)   เซลล์  1  เซลล์ ประกอบด้วยแผ่นตะกั่ว  2  แผ่น อยู่ในสารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นอิเล็กโตรไลต์   แผ่นตะกั่วจะใหญ่หรือเล็กก็ให้ความต่างศักย์มาตรฐานเท่ากันคือ  2.00  โวลต์  แต่แผ่นตะกั่วขนาดใหญ่จะให้กระแสไฟฟ้ามากกว่า  เซลล์ชนิดนี้ในตอนแรกจะไม่มีความต่างศักย์ระหว่างขั้วทั้งสองข้างจึงจ่ายไฟทันทีไม่ได้  เนื่องจากเป็นโลหะ Pb ทั้งสองด้าน   ต้องทำให้เกิดความต่างศักย์ด้วยการประจุไฟ (Charge) ครั้งแรกเสียก่อน

การประจุไฟครั้งแรก

           ต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงเข้ากับขั้วไฟฟ้าของเซลล์ดังรูป  (สังเกตการณ์เรียก Anode  Cathode  กับ  ขั้วบวก  ขั้วลบ )

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้
            แผ่นตะกั่ว Cathode ; เมื่ออิเล็กตรอนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าวิ่งลงมาถึงแผ่นตะกั่ว  H+  ในสารละลายจะเข้าไปรับอิเล็กตรอนกลายเป็นก๊าซไฮโดรเจน  ดังสมการ
                                2H+  +  2e-  →  H2
            H2  ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ทำปฏิกิริยากับตะกั่ว  ฉะนั้นแผ่นตะกั่วที่ต่อกับขั้วลบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจึงยังคงเป็นตะกั่ว ( Pb ) เหมือนเดิม


            แผ่นตะกั่ว Anode ; โมเลกุลของ  H2O  จะเกิดการแยกสลาย ดังสมการ
                                H2O  → 1/2O2 + 2H+ + 2e-
            O2  ที่เกิดขึ้นสามารถทำปฏิกิริยากับตะกั่วได้  จึงเกิดปฏิกิริยาดังสมการ
                               Pb + O2 →  PbO2
ฉะนั้นแผ่นตะกั่วที่ต่อกับขั้วบวกของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจึงเปลี่ยนเป็น  PbO2  ทำให้เกิดความต่างศักย์พร้อมที่จะจ่ายไฟได้  

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นขณะจ่ายไฟเป็นดังนี้
            แอโนด ; Pb(s)   +   SO42–(aq) →  PbSO4(s) + 2e-
            แคโทด ; PbO2(s)  +  4H+(aq)  +  SO42–(aq)  +  2e → PbSO4(s)  +  2H2O(l)
            ปฏิกิริยารวม ; Pb(s) + PbO2(s) + 4H+(aq) + 2SO42–(aq)  →2PbSO4(s) + 2H2O(l)

            ผลจากการจ่ายไฟจะทำให้ขั้วทั้งสองค่อย ๆ เปลี่ยนเป็น  PbSO4 จนกระทั่งปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์  ขั้วไฟฟ้าทั้งสองขั้วก็จะเป็นสารเดียวกันอีกคือ  PbSO4 จึงไม่มีความต่างศักย์จ่ายไฟต่อไปอีกไม่ได้อาจเรียกว่าไฟหมด (Discharge) 

นำไปประจุไฟ (Charge) เพื่อนำกลับมาใช้ได้ใหม่ 

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในการประจุไฟครั้งที่  2  และครั้งต่อ ๆ ไปจะเป็นปฏิกิริยาเดียวกัน  ซึ่งเป็นปฏิกิริยาย้อนกลับของการจ่ายไฟ  (แต่แตกต่างจากปฏิกิริยาในการประจุไฟครั้งที่ 1)  ดังสมการ
            แคโทด  ;  PbSO4  +  2e-  → Pb  +  SO42-
            แอโนด  ;  PbSO4+ 2H2O →  PbO2  +  4H+  +  SO42-  +  2e-

            หลังจากการประจุไฟครั้งที่  2  และครั้งต่อ ๆ ไป  จะได้  Pb  และ  PbO2  กลับคืนมาเหมือนที่ได้จากการประจุไฟครั้งที่  1  จึงจ่ายไฟได้อีก  เมื่อไฟหมดก็ประจุไฟได้ใหม่  กลับไปกลับมา 

2.เซลล์นิกเกิล-แคดเมียม  (Nickle-Cadmium Cell , Ni-Cd cell)
                         เซลล์ชนิดนี้ใช้โลหะ Cd เป็นแอโนด ใช้นิกเกิล (II) เช่น NiO(OH) ที่ฉาบอยู่บนโลหะนิกเกิลเป็นแคโทด มีสารละลาย KOH เป็น อิเล็กโตรไลต์ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นขณะจ่ายไฟเป็นดังนี้

 แอโนด :  Cd(s)   +   2OH(aq) → Cd(OH)2(s)   +   2e
แคโทด :          NiO(OH)(s)   +   2H2O(l)   +   2e   →   2 Ni(OH)2(s)   +   2OH(aq)

ปฏิกิริยารวม : Cd(s)   +   NiO(OH)(s)   +   2H2O(l)   →  Cd(OH)2(s)   +   2 Ni(OH)2(s)



3.เซลล์ลิเทียมไอออน (Lithium Ion Cell)
             เซลล์ชนิดนี้ใช้ลิเทียม (Li) เป็นแอโนด โดยธาตุ  Li  เป็นธาตุที่มีค่า  Eo  ต่ำสุด ( Eo = -3.04 V)
จึงมีความสามารถในการให้อิเล็กตรอนดีที่สุดด้วย  สำหรับแคโทดใช้สารประกอบจำพวก TiS2 หรือ V6O13 เซลล์ลิเทียมอาจให้ศักย์ไฟฟ้าได้มากกว่า 3 โวลต์













รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 8.88 KBs
Upload : 2012-10-28 06:38:32
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.031651 sec.