K-Me Article


เซลล์ปฐมภูมิ (Primary cell)

เซลล์ปฐมภูมิ (Primary  cell)   

 

1.ถ่านไฟฉาย (เซลล์แห้ง , Dry cell)

            เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ไม่ใช้อิเล็กโตรไลต์ที่เป็นของเหลว จึงเรียกว่า เซลล์แห้ง (Dry cell) ผู้ที่สร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดนี้คือ เลอคังเช George Leclanché   บางครั้งจึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เซลล์เลอคังเช ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน คือ 1 เซลล์ มีความต่างศักย์ประมาณ 1.5 โวลต์ ภายในประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด  ดังรูป




ปฏิกิริยาของถ่านไฟฉายเป็นดังนี้

แอโนด  ;  Zn  →  Zn2+  +  2e-

แคโทด  ;  2NH4+  +  MnO2 + 2e→   Mn2O3  +  H2O  +  2NH3

ปฏิกิริยารวม ; Zn +  2NH4+  +  MnO2 →  Zn2+  +  Mn2O3  +  H2O  +  2NH3


2.เซลล์อัลคาไลน์ (Alkaline cell)

          ส่วนประกอบทั่วไปเหมือนถ่านไฟฉาย  ต่างกันที่ใช้  KOH  แทน  NH4Cl 




ปฏิกิริยาเป็นดังนี้

            แอโนด  ;  Zn + 2OH-  →  ZnO    +  H2O  + 2e-

            แคโทด  ;  MnO2  +  H2O  +  2e →  Mn2O3  +  2OH-

ปฏิกิริยารวม  ;  Zn  +  2MnO →  ZnO  +  Mn2O3

3.เซลล์ปรอท  (Mercury cell)

  

          ส่วนประกอบทั่ว ๆ ไปเหมือนเซลล์อัลคาไลน์  ต่างกันที่ใช้  HgO  แทน  MnO2  ปฏิกิริยาเป็นดังนี้

            แอโนด  ;  Zn + 2OH-  →  ZnO    +  H2O  + 2e-

            แคโทด  ;  HgO  +  H2O  +  2e → Hg  +  2OH-

            ปฏิกิริยารวม  ; Zn  +  HgO  →  ZnO  +  Hg


4.เซลล์เงิน (Silver cell)
           ส่วนประกอบทั่วไปเหมือนเซลล์ปรอท  ต่างกันที่ใช้  Ag2O  แทน  HgO 



ปฏิกิริยาเป็นดังนี้

            แอโนด  ;  Zn + 2OH-  →  ZnO    +  H2O  + 2e-

            แคโทด  ;  Ag2O +  H2O  +  2e → 2Ag  +  2OH-

            ปฏิกิริยารวม  ;  Zn  +  Ag2O  →  ZnO  +  Ag

5.เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell)

                        การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงต่าง ๆ เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์  เช่นเดียวกับปฏิกิริยาในเซลล์กัลวานิกต่าง ๆ  จึงประดิษฐ์เป็นเซลล์ไฟฟ้าได้  เซลล์เชื้อเพลิงมีหลายแบบชนิดขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงที่นำมาใช้  เช่น  เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน-ออกซิเจน ไฮโดรเจน-ไฮดราซีน โพรเพน-ออกซิเจน เป็นต้น ชนิดที่เป็นที่นิยมใช้คือ เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน-ออกซิเจน เพราะผลจากปฏิกิริยาจะได้พลังงานไฟฟ้าได้ความร้อน  สารที่ได้จากปฏิกิริยาคือน้ำบริสุทธิ์จึงเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม  แต่อย่างไรก็ตามต้องถือว่าขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนา  ยังไม่ได้นำมาใช้จริงในชีวิตประจำวัน

                                                      (คลิ้กเพื่อชมการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิง)



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 14.62 KBs
Upload : 2012-10-27 21:54:32
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.031372 sec.