แบบฝึกหัดเรื่องสมดุลเคมี ตอนการเปลี่ยนค่าคงที่สมดุลทางสมการ
เรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าคงที่สมดุลโดยวิธีทางสมการ
1. (Ent.41) กำหนดค่าคงที่สมดุลที่อุณหภูมิ 25 .C ของปฏิกิริยาต่อไปนี้
N2(g) + 1/2O2(g) ↔ N2O(g) ; K = 0.7 x 10-19
N2(g) + O2(g) ↔ 2NO(g) ; K = 4.2 x 10-31
ค่าคงที่สมดุลที่อุณหภูมิ 25. C ของปฏิกิริยาต่อไปนี้มีค่าเท่าไร
N2O(g) + 1/2O2(g) ↔ 2NO(g)
2. (Ent.41) ปฏิกิริยา CO2(g) + H2(g) ↔ CO(g) + H2O(g) มีค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาที่อุณหภูมิต่าง ๆ ดังนี้
อุณหภูมิ (.C)
|
ค่าคงที่สมดุล
|
400
|
0.08
|
600
|
0.41
|
700
|
0.63
|
ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาต่อไปนี้ที่อุณหภูมิ 600 .C มีค่าเท่าไร
2CO(g) + 2H2O(g) ↔ 2CO2(g) + 2H2(g)
3. (Ent.44) พิจารณาค่า K ของปฏิกิริยาต่อไปนี้
A(g) + B(g) ↔ 2C(g) K1
D(g) + E(g) ↔ A(g) + C(g) K2
E(g) + F(g) ↔ 2B(g) + G(g) K3
ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา 3A(g) + F(g) ↔ 3C(g) + D(g) + G(g) มีค่าเท่าไร
4. (Ent.46) กำหนดให้ NO2(g) ↔ NO(g) + O(g) ; K = 6.8 x 10-49
O3(g) + NO(g) ↔ NO2(g) + O2(g) ; K = 5.8 x 10-34
ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาต่อไปนี้มีค่าเท่าใด O2(g) + O(g) ↔ O3(g)
5.. (Ent.48) ปฏิกิริยา A + B ↔ 2C ถ้ามีสาร A และ B อย่างละ 1 โมล ในภาชนะ 1 ลิตร เมื่อถึงภาวะสมดุลมี C เกิดขึ้น 0.4 โมล/ลิตร จงหาค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา
6. A-net 49 ปฏิกิริยา A(g) + B(g) ↔ C(g) + D(g) ที่อุณหภูมิ 500 0C การเกิดปฏิกิริยามี 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 2A(g) ↔ C(g) + X(s) ค่าคงที่สมดุล = 5.0 x 10-2
ขั้นที่ 2 X(s) + B(g) ↔ A (g) + D(g) ค่าคงที่สมดุล = 8.0 x 10-2
ที่ 500 0C ปฏิกิริยา C(g) + D(g) ↔ A(g) + B(g) จะมีค่าคงที่สมดุลเท่าไร
1. 1.3 x 10-2 2. 4.0 x 10-3 3. 2.5 x 10 2 4. 4.0 x 10 3
Content's Picture
Size : 5.11 KBs
Upload : 2013-07-21 20:59:05
|
|
Status : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์
|
|
|