ข้อเท็จจริงของโครงการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 1. กำเนิดโครงการ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2544 รองผู้อำนวยการยาใจ ดีช่วย มอบหมายให้ อาจารย์ศักดิ์ณรงค์ แสงพิทักษ์ อาจารย์ 3 ระดับ 8 (ในขณะนั้น) ขออนุมัติต่อผู้อำนวยการนิพนต์ นุตพงษ์ เพื่อจัด สร้างห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จัดซ้ือวัสดุ ครุภัณฑ์เพื่อใช้ในโครงการ และได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544 (คลิ้ก ชมเอกสาร)
ผู้อำนวยการ นิพนธ์ นุตพงษ์ เพาะเนื้อเยื่อพืชเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2545 (คลิ้กชมเพิ่มเติม)
2. การดำเนินโครงการ ขั้นเริ่มต้นจัดในรูปกิจกรรมกลุ่มสนใจ ต่อมาเปิดสอนเป็นรายวิชาเลือกเสรี นักเรียนให้ความสนใจสมัครเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
3. ความก้าวหน้าของโครงการ มีผลงานจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้สายพันธุ์สำคัญที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของกล้วยไม้ในโลก
4. มีบุคคลภายนอกมาเยี่ยมชมอยู่เสมอ
5. ร่วมจัดนิทรรศการทางวิชาการเผยแพร่ความรู้ตามโอกาส
6. โครงการได้รับรางวัล 'หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวตกรรม' จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ในวันครูประจำปีการศึกษา 2548
7. ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3
8. โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นผลงานทางวิชาการที่ข้าพเจ้าได้รับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ เป็นอาจารย์ 3 ระดับ 8 (ใน ขณะนั้น) จึงประสงค์ที่จะรักษาผลงานให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป 9. โครงการหยุดชะงักไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
ปีการศึกษา 2556 ผู้มีอำนาจในขณะนั้นลงความเห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่มีประโยชน์ (คลิ้ก ดูรูป ) ส่งคนมาเคลื่อนย้ายเนื้อเยื่อพืชและเครื่องมือเครื่องใช้ และผลงานทั้งหลายออกไป จากนั้นใช้สถานที่ทั้งหมดของโครงการเป็นที่ล้างถ้วยชามของโรงอาหาร ไม่มีสถานที่ทดแทนที่เหมาะสม โครงการดำเนินต่อไปไม่ได้ เนื้อเยื่อพืชและพันธุ์พืชหายากที่สะสมไว้เป็นจำนวนมากเสียหายเกือบหมด (จากนั้นไม่นานมีการสร้างห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขึ้นมาใหม่ ดำเนินการโดยบุคคลกลุ่มเดียวกับที่มาเคลื่อนย้ายผลงานออกไปดังกล่าว ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าของโครงการนี้)
Content's Picture
Size : 240.70 KBs
Upload : 2013-10-01 03:30:43
|
|
Status : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์
|
|
|