per_ad


เด็กและเยาวชน
  • กฏหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
การพิจารณาความหมายของเด็กกระทำผิด พิจารณาแยกได้เป็นสองส่วน
1. เกณฑ์อายุ
ขั้นต่ำ: อายุต่ำกว่า 7 ปีลงมาไม่มีความผิดอาญา
ขั้นสูง: อายุไม่เกิน 18 ปีขณะกระทำความผิดอยู่ในเกณฑ์ศาลคดีเด็กฯ

2. เกณฑ์การกระทำผิด
ผิดกฏหมายอาญา
เป็นความผิดของเด็กโดยเฉพาะ

วิวัฒนาการของกฏหมายเกี่ยวกับเด็ก
- กฏหมายฮัมมูราบี: การคุ้มครองเด็ก ความผิด & การลงโทษเด็ก
- กฏหมายสุมาเรียน: ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและการปกครองบุตร
- กฏหมายของชาวฮิบรู: จำแนกเด็กออกเป็น 3 ประเภท 1-6, 7-12, 13-20 ปี
- กฏหมายโรมัน: ไม่เกิน 7 ไม่รับโทษ (เป็นหลักของกฏหมายต่อๆ มา)
- กฏหมายคอมมอนลอว์: อายุ, ความผิด, รู้ถูก/ผิดหรือไม่, เจตนาหรือไม่

เจตนารมย์ของศาลเยาวชน
1. คุ้มครองสวัสดิภาพ
2. นำความยุติธรรมที่คำนึงถึงลักษณะเฉพาะบุคคลมาใช้
3. นำวิธีแก้ไขที่เหมาะสมมาใช้
4. คุ้มครองสถานภาพครอบครัว

ลักษณะพิเศษของศาลเยาวชน
1. แยกพิจารณาคดี
2. ไม่เครงครัดตามกฏหมายวิธีพิจารณาความ
3. ผู้พิพากษาต้องมีจิตวิทยาและเข้าใจเด็ก
4. มีบริการแรกรับเพื่อแยกการควบคุม
5. มีเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ
6. สำนวนมีทั้งกฏหมาย และ ประวัติทางสังคมของเด็ก
7. ศาลแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งเด็ดขาดได้

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534

หมวด 2 ศาลเยาวชนและครอบครัว

มาตรา 20 อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็น ผู้รับผิดชอบงานของศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและ อธิบดีผู้พิพากษาตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

หมวด 3 สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

มาตรา 39 ทัณฑ์ที่จะลงแก่เด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในความควบคุมของ สถานพินิจให้มีดังต่อไปนี้
(1) เฆี่ยนไม่เกินสิบสองที
(2) ทำงานหนัก
(3) ตัดประโยชน์และความสะดวกที่สถานพินิจอำนวยให้บางประการ

หมวด 4 การสอบสวนคดีอาญา

มาตรา 55 เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนตาม มาตรา 50 แล้ว ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงตาม มาตรา 34 (1) เว้นแต่ในคดีอาญา ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่ เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้อำนวยการสถาน พินิจเห็นว่าการสืบเสาะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่จำเป็นแก่คดี จะสั่งงดการสืบ เสาะข้อเท็จจริงนั้นเสียก็ได้ แล้วให้แจ้งไปยังพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้อง
(2)ทำรายงานในคดีที่มีการสืบเสาะเพื่อแสดงถึงข้อเท็จจริงตาม มาตรา 34 (1) และแสดงความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุแห่งการกระทำผิดของเด็กหรือ เยาวชน แล้วส่งรายงานและความเห็นนั้นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน อัยการ แล้วแต่กรณี และถ้ามีการฟ้องร้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาล ให้เสนอ รายงานและความเห็นนั้นต่อศาลพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการลงโทษ หรือ การใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนด้วย
(3) ในกรณีที่ไม่ได้ปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนไปชั่วคราวหรือไม่ได้มอบ ตัวเด็กหรือเยาวชนไว้กับบุคคลหรือองค์การตาม มาตรา 50 ให้เด็กหรือ เยาวชนได้รับการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) ทำความสะอาดร่างกายและเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย
(ข) ให้แพทย์ตรวจร่างกายและถ้าเห็นสมควร ให้จิตแพทย์ตรวจจิตใจ ด้วย
(ค) ถ้าปรากฏว่าเด็กหรือเยาวชนเจ็บป่วย ซึ่งควรจะได้รับการรักษา พยาบาลก่อนดำเนินคดี ให้มีอำนาจสั่งให้ได้รับการรักษาพยาบาลในสถานพินิจ หรือสถานพยาบาลอื่นตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ให้แจ้งไปยังพนักงาน สอบสวน หรือพนักงานอัยการที่เกี่ยวข้อง

หมวด 6 การฟ้องคดีอาญา

มาตรา 63* ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิด เมื่อ ผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติสติ ปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ ฐานะ ตลอดจนสิ่ง แวดล้อมเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนและพฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีแล้วเห็นว่า เด็กหรือเยาวชนอาจกลับตามเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้องและเด็กหรือเยาวชน นั้นยินยอมที่จะอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจด้วยแล้ว ให้ผู้อำนวยการ สถานพินิจแจ้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วย ให้มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องเด็ก หรือเยาวชนนั้นได้คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ นั้นให้เป็นที่สุด
การควบคุมเด็กหรือเยาวชนในสถานพินิจตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนด เวลาตามที่ผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสองปี
บทบัญญัติ มาตรา นี้มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำความผิดอาญา ที่มีอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินกว่าห้าปีขึ้นไป

มาตรา 64* ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชน กระทำความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว เว้นแต่จะขอได้รับอนุญาตจาก ผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ
เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจ ได้รับการร้องขอของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดี อาญาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้อำนวยการสถานพินิจดำเนินการสืบสวนและสอบ สวนว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลสมควรอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้อง หรือไม่แล้วแจ้งให้ ผู้เสียหายทราบว่าอนุญาตให้ฟ้องหรือไม่อนุญาตให้ฟ้อง
ในกรณีที่ผู้อำนวยการสถานพินิจไม่อนุญาตให้ฟ้อง ผู้เสียหายจะร้องต่อ ศาลขอให้สั่งอนุญาตก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ศาลเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจ มาสอบถาม แล้วสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งศาลให้เป็นที่สุด
เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้รับฟ้องของผู้เสียหายแล้ว ให้ผู้อำนวย การสถานพินิจดำเนินการตาม มาตรา 55 ตามควรแก่กรณี

หมวด 7 การพิจารณาคดีอาญา

มาตรา 74 ถ้าศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นว่า จำเลยไม่ควรฟังคำให้การของพยานในตอนหนึ่งตอนใด ศาลมีอำนาจสั่งให้ จำเลยออกไปนอกห้องพิจารณาได้ แต่เมื่อศาลสั่งให้จำเลยกลับเข้ามาฟังการ พิจารณา ให้ศาลแจ้งข้อความที่พยานเบิกความไปแล้วให้จำเลยทราบเท่าที่ ศาลเห็นสมควร

มาตรา 78 ในการพิจารณาคดีที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ให้ศาลที่มี อำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวถือว่าอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และฐานะของ จำเลย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลย และของบิดามารดา ผู้ปก ครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษา หรือให้ทำการ งาน หรือมีความเกี่ยวข้องเป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาด้วย

มาตรา 82 ในการพิจารณาและพิพากษาคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชน กระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวคำนึงถึง สวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งควรจะได้รับการฝึกอบรมสั่งสอน และสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดียิ่งกว่าการที่จะลงโทษ และในการ พิพากษาคดีนั้นให้ศาลคำนึงถึงบุคลิกลักษณะ สุขภาพ และภาวะแห่งจิตของเด็ก หรือเยาวชนซึ่งแตกต่างกันเป็นคนๆ ไป และลงโทษหรือเปลี่ยนโทษหรือใช้วิธี การสำหรับเด็กหรือเยาวชนให้เหมาะสมกับตัวเด็กหรือเยาวชนและพฤติการณ์ เฉพาะเรื่อง แม้เด็กหรือเยาวชนนั้นจะได้กระทำความผิดร่วมกัน

หมวด 8 การพิพากษาคดีอาญา

มาตรา 99* เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ลงโทษหรือใช้วิธีการ สำหรับเด็กและเยาวชนแล้ว และต่อมาความปรากฏแก่ศาลเอง หรือปรากฏ จากรายงานของผู้อำนวยการสถานพินิจ หรือผู้ปกครองโรงเรียนหรือสถานกัก และอบรมหรือสถานฝึกและอบรมของสถานพินิจ หรือปรากฏจากคำร้องของ บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่หรือสถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิตตาม มาตรา 20 (2) ว่าข้อ เท็จจริงหรือพฤติการณ์ตาม มาตรา 78 และ มาตรา 82 ได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิม ถ้าศาลเยาวชนและครอบครัวที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง หรือที่มีเขต อำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนนั้นกำลังรับโทษหรือถูกควบคุมตัวอยู่ เห็น ว่ามีเหตุอันสมควรก็ให้มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา หรือคำสั่งเกี่ยว กับการลงโทษหรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ ในกรณีที่ศาลที่แก้ไข เปลี่ยนแปลงไม่ใช่ศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งให้แจ้งให้ศาลที่พิพากษา หรือมีคำ สั่งทราบ และถ้าโทษหรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่กำหนดในภายหลัง หนักกว่าโทษหรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่เด็กหรือเยาวชนนั้นได้รับอยู่ เด็กหรือเยาวชนนั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งที่แก้ไขเปลี่ยน แปลงนั้นได้
ในคดีที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งตัว เด็ก หรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยไปกักและอบรมหรือฝึกและอบรมยังสถานพินิจ ให้ศาลเยาวชน และครอบครัวที่มีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมี สิทธิอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นได้
ในคดีที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งตัว เด็ก หรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยไปกักและอบรมหรือฝึกและอบรมยังสถานพินิจ ให้ศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็น จำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยว กับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในวรรคหนึ่ง

มาตรา 100 ในกรณีที่ศาลพิพากษาว่าเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลยไม่ มีความผิดและปล่อยเด็กหรือเยาวชนไป ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรจะ กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับความประพฤติของเด็ก หรือเยาวชนนั้นด้วยก็ให้ศาลมี อำนาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติข้อเดียว หรือหลายข้อไว้ใน คำพิพากษา ดังต่อไปนี้
(1) ห้ามมิให้เด็กหรือเยาวชนเข้าไปในสถานที่หรือท้องที่ใดอันจะจูงใจ ให้เด็กหรือเยาวชนประพฤติชั่ว
(2) ห้ามมิให้เด็กหรือเยาวชนออกนอกสถานที่อยู่อาศัยในเวลากลางคืน เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นหรือได้รับอนุญาตจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคล ที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย
(3) ห้ามมิให้เด็กหรือเยาวชนคบหาสมาคมกับบุคคลหรือประเภทบุคคลที่ ศาลเห็นไม่สมควร
(4) ห้ามมิให้เด็กหรือเยาวชนกระทำการใด อันจะจูงใจให้เด็กหรือ เยาวชนนั้นประพฤติชั่ว
(5) ให้เด็กหรือเยาวชนไปรายงานตัวต่อศาลหรือพนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานสังคมสงเคราะห์ที่ผู้อำนวยการสถานพินิจมอบหมายเป็นครั้งคราว
(6) ให้เด็กหรือเยาวชนไปศึกษา เข้ารับการฝึกอบรม หรือประกอบ อาชีพเป็นกิจจะลักษณะ
ในการกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลกำหนดระยะเวลาที่จะให้ เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นด้วย แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือ เยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
เงื่อนไขตามที่ศาลได้กำหนดตามวรรคหนึ่งนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏ แก่ศาลเอง หรือปรากฏจากรายงานของบุคคลตาม มาตรา 101 วรรคหนึ่งว่า ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไข เพื่อคุมความประพฤติ เด็กหรือเยาวชนนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควร อาจแก้ไขเพิ่ม เติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดหรือทุกข้อก็ได้หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมก็ ได้

มาตรา 101 เมื่อศาลได้กำหนดเงื่อนไขตาม มาตรา 100 แล้ว ให้เป็น หน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานสังคมสงเคราะห์ที่ผู้อำนวยการ สถานพินิจมอบหมายที่จะสอดส่องและทำรายงานเสนอต่อศาล
ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด ศาลมี อำนาจออกหมายเรียกหรือหมายจับเด็กหรือเยาวชนนั้นมาตักเตือน หรือส่งตัว เด็กหรือเยาวชนนั้นไปกักและอบรมหรือฝึกและอบรมในสถานพินิจหรือสถานฝึก และอบรมที่ได้รับใบอนุญาตตาม มาตรา 20 (2) แห่งหนึ่งแห่งใดเป็นเวลาไม่ เกินหนึ่งปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปี บริบูรณ์

หมวด 9 การเปลี่ยนโทษ และการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน

มาตรา 104* ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจ ใช้วิธีการสำหรับเด็ก และเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความ ปลอดภัยได้ดังต่อไปนี้
(1) เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยตาม มาตรา 39 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นกักและอบรม ซึ่งจะต้องกักและอบรมใน สถานกักและอบรมของสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่า เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
(2) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถาน พินิจ สถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต ตามเวลา ที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
(3) เปลี่ยนโทษปรับเป็นการคุมความประพฤติ โดยกำหนดเงื่อนไขข้อ เดียวหรือหลายข้อ ตาม มาตรา 100 ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าได้กำหนดเงื่อนไข ไว้ให้นำ มาตรา 100 วรรคสองและวรรคสามและ มาตรา 101 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
หลักเกณฑ์วิธีการกักและอบรม หรือการฝึกและอบรมเด็กหรือเยาวชนให้ เป็นไปที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ศาลได้พิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหา และพฤติการณ์แห่งคดี แล้วเห็นว่าควรจะกักตัวหรือควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนตาม (1) หรือ (2) ต่อไปหลังจากที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้ว ให้ศาลระบุ ในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด

มาตรา 105 การส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักและอบรมหรือฝึกและ อบรมในสถานพินิจ หรือส่งตัวไปยังสถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรมที่ได้รับ ใบอนุญาตตาม มาตรา 20 (2) ถ้าศาลได้กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำและขั้นสูงไว้ ศาลจะปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนไปในระหว่างระยะเวลาขั้นต่ำ และขั้นสูงนั้น ก็ได้ ในกรณีดังกล่าว ศาลจะกำหนดเงื่อนไขตาม มาตรา 100 ด้วยหรือไม่ก็ ได้ ถ้าได้กำหนดเงื่อนไขไว้ ให้นำ มาตรา 100 วรรคสองและวรรคสามและ มาตรา 101 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และระยะเวลาที่จะกักและอบรมหรือฝึก และอบรมนั้นจะเกินหนึ่งปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่เหลืออยู่

มาตรา 106* คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิพากษา ให้รอการกำหนด โทษหรือรอการลงโทษเด็กหรือเยาวชนตามประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ แม้ว่า
(1) เด็กหรือเยาวชนนั้นได้เคยรับโทษจำคุกหรือโทษอย่างอื่นตามคำ พิพากษามาก่อนแล้ว
(2) โทษจะลงแก่เด็กหรือเยาวชนเป็นโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก
(3) ศาลจะกำหนดโทษจำคุกเกินกว่าสองปี

หมวด 12 อุทธรณ์

มาตรา 121* คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้ว ให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคได้ตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่ใน กรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัว ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการสำหรับ เด็กและเยาวชนอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดให้ใช้วิธีการตาม มาตรา 74 (1) และ(5) แห่งประมวลกฎ หมายอาญา
(2) กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม มาตรา 104 เว้น แต่ในกรณีที่การใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนนั้นเป็นการพิพากษาหรือมีคำ สั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปี
(3) กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม มาตรา 105 เว้น แต่การกักและอบรมนั้นมีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกินสามปี

ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 193ทวิ* ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหา ข้อเท็จจริงในคดี ซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขัง แทนโทษจำคุก
(2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลง โทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษ ไว้ หรือ
(4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.006719 sec.