kruuan |
|
|
|
|
ประวัติ
ย้อนรอยประวัตินางในวรรณคดีไทย « เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 10:22:56 PM » ................................................................. ประวัติ...นางบุษบา นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย ลักษณะนิสัย 1.บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล 2. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี 3. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า 'อันนางจินตะหราวาตี ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา หากเขาก่อก่อนอ่อนมา ใจพี่พาลาก็งวยงง……' จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า ' จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา เขาจะเชิดชื่อฤาชา ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย อันความอัปยศอดสู จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป ' และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า 'พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก เป็นไฉนจึงยกน้องให้ แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์ กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา' 4. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน 5.มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า 'ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย แม้นชีวันจะบรรลัย จะตายในความซื่อสัตยา' 6.ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี 7.เมื่อเป็นชาย คือมิสาอุณากรรณก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน 8.มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน 9.มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง 10.ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า 'แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล' และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง เว็บสาระดี ๆ แบ่งปันความรู้ สอนเขียนโปรแกรม Access จากตัวอย่างง่าย ๆ แบ่งปันให้เพื่อนคุณบน Facebook « แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2011, 08:32:55 PM โดย NavyGirl » บันทึกการเข้า คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไป NavyGirl สมาชิกพี่ใหญ่ ออฟไลน์ กระทู้: 1001 ย้อนรอยประวัตินางในวรรณคดีไทย - นางสุวรรณมาลี « ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 10:34:19 PM » .................................................................. ประวัติ...นางสุวรรณมาลี นางสุวรรณมาลี เป็นธิดาของท้าวสิลราช กษัตริย์เมืองผลึก กับนางมณฑา นางมีรูปโฉมงดงามมาก แต่มีนิสัยขี้หึง ได้หมั้นหมายไว้กับอุศเรนโอรสกษัตริย์เมืองลังกา นางลงเรือไปเที่ยวทะเลกับท้าวสิลราชแล้วได้ไปพบกับพระอภัยมณีที่เกาะแก้วพิสดาร สินสมุทรบุตรของพระอภัยมณีพยายามเป็นสื่อให้นางรักใคร่กับพระอภัยมณี ครั้นได้กลับไปถึงเมืองผลึกนางก็ได้เข้าพิธีแต่งงานกับพระอภัยมณี ทั้งสองมีธิดาฝาแฝดชื่อสร้อยสุวรรณและจันทร์สุดา ต่อมาพระอภัยมณีตัดสินใจบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญศีลอยู่ที่เขาสิงคุตร์ นางสุวรรณมาลีก็บวชตามไปปรนนิบัติด้วยความจงรักภักดี นางสุวรรณมาลีนั้นกล่าวได้ว่านางเป็นผู้หญิงที่มีรูปโฉมงดงาม เห็นได้จากกลอน บทที่ว่า พระเลื่อนองค์ลงจากบัลลังก์อาสน์ หวังสวาทว่าจะโลมนางโฉมฉาย ครั้นเข้าชิดคิดได้ไม่ใกล้กลาย แต่เดินชายชมนางไม่วางตา พระโอษฐ์เอี่ยมเทียมสีลิ้นจี่จิ้ม เป็นลักยิ้มแย้มหมายทั้งซ้ายขวา ขนงเนตรเกศกรกัลยา ดังเลขาผุดผ่องละอองนวล นอกจากนางจะเป็นหญิงที่มีความงามแล้ว นางยังมีความสามารถมีสติปัญญาเทียบเท่าผู้ชาย มีความรู้ในการรบ รู้ตำราพิชัยสงคราม และยังมีความเฉลียวฉลาดสามารถเอาตัวรอดได้ ส่วนด้านความรู้ด้านการรบนางก็มีตามวิสัยลูกกษัตริย์ ตามที่จะเห็นได้จากตอนที่นางช่วยสินสมุทรบกับอุศเรน ลักษณะนิสัย 1.นางเป็นผู้มีความกตัญญู หลังจากเรือแตกนางก็เฝ้าเป็นห่วงพระบิดาของตนเสมอ 2. นางเป็นคนที่มีจิตใจเมตตา นางรักสินสมุทรเหมือนลูกของตัวเอง โดยที่นางไม่ความรังเกียจเลยแม้แต่น้อย ความรักที่นางมีให้สินสมุทรนั้นเหมือนว่านางเป็นแม่แท้ๆของสินสมุทรเลยทีเดียว 3.นางมีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในเรื่องการปกครองบ้านเมือง หรือ บัญชาการทัพ สุวรรณมาลีก็ได้แสดงความเด็ดเดี่ยวให้ประจักษ์ นางสามารถเป็นแม่ทัพบัญชาการรบได้โดยไม่ต้องพึ่งพาพระอภัยมณีเลย ในครั้งที่อุศเรนยกมาตีเมืองผลึก พระอภัยมณีเป็นเพียงทัพหนุนคอยโจมตีซ้ำเมื่อทัพลังกาแตก ส่วนสุวรรณมาลีเป็นทัพที่ต้องเข้าสู้รบอย่างเต็มที่ และในการรบครั้งนี้ นางเองเป็นฝ่ายอาสาในขณะที่พระอภัยมณีปรึกษานางวาลีว่า จะรบหรือจะหนี สุวรรณมาลีกลับอาสาเข้าต่อสู้ด้วยโดยไม่ลังเลใจ แสดงว่า ไม่เพียงแต่รู้วิชารบ หากยังมีใจเป็นนักรบ คือมั่นคงพูดคำไหนเป็นคำนั้น ไม่โลเล หรือตัดสินใจไม่เด็ดขาดเหมือนพระอภัยมณี จากทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่านางสุวรรณมาลี เป็นหญิงที่เพียบพร้อมไปทั้ง รูปโฉม สติปัญญา และชาติตระกูล อีกทั้งยังเป็นหญิงที่มีจิตใจเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นลักษณะที่โดดเด่นของนางในวรรณคดีตัวนี้ที่เห็นได้ชัดเจนทีเดียว แบ่งปันให้เพื่อนคุณบน Facebook « แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 12, 2011, 10:47:20 PM โดย man@dmin » บันทึกการเข้า คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไป NavyGirl สมาชิกพี่ใหญ่ ออฟไลน์ กระทู้: 1001 ย้อนรอยประวัตินางในวรณคดีไทย - นางวันทอง « ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 10:45:26 PM » .................................................................. ประวัติ...นางวันทอง นางวันทองเป็นธิดาคนเดียวของพันศรโยธา และนางศรีประจัน ครอบครัวของนางวันทองเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีฐานะดีพอสมควร นางจึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี นางวันทองมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชนอ้อนแอ้น กิริยามารยาทแช่มช้อย ซึ่งความสวยของนางนั้นปรากฏให้เห็นชัดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และยังมีผมสวย ดังที่กวีพรรณนาไว้ว่า 'ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแบน อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา ผมสลวยสวยขำงามเงา ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย' เมื่อนางเติบโตขึ้นก็ยิ่งมีความสวยงามยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ขุนแผนและขุนช้างมีจิตใจผูกพันรักใคร่ ส่งผลให้เกิดเรื่องราววุ่นวายตามมามากมาย ลักษณะนิสัย เนื่องจากนางวันทองมีโอกาสใกล้ชิดกับนางศรีประจัน นางจึงได้รับลักษณะนิสัยบางอย่างของนางศรีประจันมา เช่น เป็นคนเจ้าคารมโวหาร ใช้ถ้อยคำประชดประชันเสียดสี ปากกล้า โดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์โมโห นางจะหลุดถ้อยคำหยาบ ๆ ออกมาได้มากมาย นางวันทองมีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิงชาวบ้าน เมื่อโตเป็นสาวก็เริ่มคิดเรื่องคู่ครอง อันเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในกรอบของประเพณี จึงทำให้ดูเหมือนว่านางวันทองไม่รักนวลสงวนตัว อย่างไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับรู้ถึงความดีของผู้อื่นที่ปฏิบัติต่อนาง ดังจะเห็นได้จากถึงแม้นางจะไม่ได้รักขุนช้างแต่ด้วยความดีของขุนช้างและความผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุข และความรู้สึกของขุนช้างไม่น้อย หรือ อารมณ์ที่ละเอียดอ่อนในการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี เช่น ความประณีตในการปักม่าน นอกจากนี้นางวันทองยังเป็นคนกล้าที่จะยอมรับชะตากรรมของตัวเอง มีน้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไม่เคียดแค้น แบ่งปันให้เพื่อนคุณบน Facebook « แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 12, 2011, 10:47:03 PM โดย man@dmin » บันทึกการเข้า คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไป NavyGirl สมาชิกพี่ใหญ่ ออฟไลน์ กระทู้: 1001 ย้อนรอยประวัตินางในวรณคดีไทย - นางละเวงวัณฬา « ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 10:55:06 PM » .................................................................. ประวัติ...นางละเวงวัณฬา นางละเวงวัณฬาเป็นหญิงฝรั่ง ธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี เมื่อนางอายุได้ ๑๖ ปีนางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายไปในสงครามสู้รบระหว่างเมืองลังกาและเมืองผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณี แม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงได้ ลักษณะนิสัย บทบาทของนางละเวงในเรื่องนั้นค่อนข้างแปลกกว่าตัวผู้หญิงในเรื่องอื่นๆ คือมีลักษณะเป็นทั้งนางเอกและผู้ร้ายก้ำกึ่งกัน ในตอนต้นนางทำศึกโดยการใช้เล่ห์กลอุบายตามคำแนะนำของบาทหลวง ทั้งนี้ด้วยคามแค้นที่พ่อและพี่ชายถูกฆ่าตายด้วยฝีมือชาวเมืองผลึก แม้ว่าความพยายามของนางในตอนต้นๆจะไม่ได้ผลเต็มที่ นางก็ไม่ละความพยายาม จนกระทั่งพระอภัยมณียกทัพข้ามไปราวีกรุงลังกาเสียเอง ทั้งๆที่มีความเกลียด ความโกรธ ความอาฆาตแค้นอยู่เต็มอก แต่พอนางได้พบหน้า และต่อปากต่อคำกับพระอภัยมณีศัตรูคนสำคัญเพียงครั้งเดียว นางก็ชักจะเรรวนไปข้างเสน่หาพระอภัยมณีเสียแล้ว แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าเมืองลังกา นางละเวงจึงยอมตัดใจไม่เกี่ยวข้องกับพระอภัยมณีเป็นอันขาด แต่จะยกกองทัพกลับมาต่อสู้ให้ชนะให้จงได้ การที่จะทำศึกกับคนที่ตนรักนั้นไม่ใช่ของง่าย นางละเวงเองก็ทรมานใจ “เมื่อต่างชาติศาสนาเป็นข้าศึก สุดจะนึกร่วมเรียงเคียงเขนย ขอสู้ตายชายอื่นไม่ชื่นเชย จนล่วงเลยสู่สวรรค์ครรไล” แบ่งปันให้เพื่อนคุณบน Facebook « แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 12, 2011, 10:59:06 PM โดย man@dmin » บันทึกการเข้า คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไป NavyGirl สมาชิกพี่ใหญ่ ออฟไลน์ กระทู้: 1001 Re: ย้อนรอยประวัตินางในวรรณคดีไทย - พระเพื่อน พระแพง « ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 11:00:46 PM » ................................................................. ประวัติ...พระเพื่อน พระแพง ตำนานรักพระลอ ความว่า เดิมเจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือพระลอเป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดี พระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อนพระแพงเกิดความรักและปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ชื่อนางรื่นนางโรย ได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงให้พระลอฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงไหลคิดเสด็จไปหานาง ฝ่ายพระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบ จึงหาหมอแก้เสน่ห์ได้ แต่ปู่เจ้า สมิงพรายได้เสกสลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ถึงกับหลงไหลธิดาทั้งสองมากขึ้น จึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้วนายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลงได้เสี่ยงทายกับแม่น้ำ แม่น้ำกลับวนและเป็นสีเลือด ซึ่งทายว่าไม่ดี แต่พระลอก็ยังติดตามไก่ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมนต์ล่อพระลอให้หลง เข้าไปในสวนหลวง แล้วแอบได้พระธิดาทั้งสองเป็นชายา นายแก้วนายขวัญก็ได้กับนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยง เมื่อพระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อนพระแพงทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรงพิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ้ว แต่พระเจ้าย่า(ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อนพระแพงโกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครสวามีในที่รบ พระเจ้าย่าถือว่าพระลอเป็นศัตรู จึงสั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน และสั่งประหารด้วยธนู ทั้งพระลอ พระเพื่อน พระแพง และนายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ร่วมกันต่อสู่ทหารของพระเจ้าย่า อย่างทรหด จนสุดท้ายถูกธนูตายในลักษณะพิงกัน ตายด้วยความรักทั้ง 3 องค์ ท้าวพิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหาร ฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ทรงกริ้วและสั่งประหารพระเจ้าย่า(เพราะมิใช่ชนนี)เสีย แล้วโปรดให้จัดการพระศพพระลอกับ พระธิดาร่วมกันอย่างสมเกียรติ และส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมืองสรองกับเมืองแมนสรวงกลับมีสัมพันธไมตรีกันต่อมา คติและแนวคิด ตำนานรักพระลอเป็นนิยายพื้นบ้านที่ให้รสวรรณคดีทุกรส ได้แก่ ความรัก ความโศก กล้าหาญ และเสียสละ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงผลเสียของความแค้น ความอาฆาต พยาบาท ตลอดจนอนุภาพแห่งความรัก ที่เป็นอมตะรักของพระลอ พระเพื่อนพระแพง แบ่งปันให้เพื่อนคุณบน Facebook « แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 12, 2011, 11:06:56 PM โดย man@dmin » บันทึกการเข้า คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไป NavyGirl สมาชิกพี่ใหญ่ ออฟไลน์ กระทู้: 1001 Re: ย้อนรอยประวัตินางในวรรณคดีไทย « ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2011, 10:14:43 PM » .................................................................. ประวัติ...นางกากี กากี นับเป็นนางเอกที่อื้อฉาวที่สุดก็ว่าได้ นางกากีนี้นอกจากจะมีรูปกายงดงามราวกับเทพธิดาแล้ว ยังมีกลิ่นกายหอมเป็นเสน่ห์พิเศษอีกอย่างหนึ่ง ชายใดที่แตะต้องสัมผัสนางกลิ่นกายนางก็จะหอมติดชายคนนั้นไปถึงเจ็ดวันเลยทีเดียว นางกากีเป็นพระมเหสีของท้าวบรมพรหมทัต ซึ่งโปรดการเล่นสกามาก และมีพระยาครุฑเวนไตยซึ่งแปลงร่างเป็นมานพรูปงามมาเล่นสกาอยู่ด้วยเนืองๆ จนวันหนึ่งเล่นเพลิน มิได้ไปหานางกากี นางจึงมาแอบดู และสบตาเข้ากับพระยาครุฑแปลง ต่างก็เกิดอาการหวั่นไหว ภาษาสมัยใหม่ก็ต้องว่าเกิดอาการ”ปิ๊ง”กัน ต่อมาพระยาครุฑได้บินมาลักพานางไปอยู่ที่วิมานฉิมพลี ทำให้ท้าวพรหมทัตกลัดกลุ้มพระทัย คนธรรพ์นาฏกุเวร (คนธรรพ์คือเทวดาชั้นผู้น้อยที่มีความชำนาญด้านดนตรี) ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของท่านท้าวก็อาสาจะพานางกลับมาให้ จึงได้แปลงตัวเป็นไรแทรกขนครุฑตามไปวิมานของครุฑ ครั้นพระยาครุฑบินออกไปหาอาหาร นาฏกุเวรคนธรรพ์ก็ออกมา แต่แทนที่จะพานางกลับเมือง กลับเกี้ยวพาและเล้าโลมนางจนได้เสียกัน แล้วกลับมารายงานท่านท้าวว่านางกากีจะอยู่กับครุฑและตนได้เสียกับนางแล้วเพื่อให้ครุฑรังเกียจนาง ท่านท้าวก็โกรธแต่ทำอะไรมิได้ ต่อมาพระยาครุฑแปลงมาเล่นสกาอีก ก็ถูกคนธรรพ์เล่นพิณเยาะเย้ย เมื่อสอบถามได้ความจริง พระยาครุฑก็โกรธนางกากี นำกลับมาปล่อยไว้ในเมือง ครั้นท่านท้าวเห็นนางก็ว่าถากถางและนำนางไปลอยแพกลางทะเล ต่อมานางได้รับความช่วยเหลือจากนายสำเภา ซึ่งได้รับนางเป็นภรรยา แต่เคราะห์กรรมนางก็ยังไม่หมด ต่อมาถูกนายโจรมาลักพาตัวไปเพราะหลงใหลในความงาม ปรากฏว่าในหมู่โจรก็เกิดการแย่งชิงนางขึ้นมาอีก นางหนีไปได้ ต่อมาได้เป็นมเหสีของท้าวทศวงศ์ กษัตริย์อีกเมือง สุดท้ายปรากฏว่านาฏกุเวรที่ได้ครองเมืองแทนท้าวบรมพรหมทัตที่สวรรคตลง ก็ตามไปชิงนางคืนมาและฆ่าท้าวทศวงศ์เสีย เรื่องก็จบลง นับดูแล้วนางกากีมีสามีถึง ๕ คน แสดงว่าต้องเป็นคนที่เซ็กซี่มีเสน่ห์ดึงดูดเพศตรงข้ามอย่างมาก จึงต้องตกระกำลำบากถูกสังคมประณามเพราะเสน่ห์แรงเกินไปนี่เอง แบ่งปันให้เพื่อนคุณบน Facebook บันทึกการเข้า คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไป NavyGirl สมาชิกพี่ใหญ่ ออฟไลน์ กระทู้: 1001 Re: ย้อนรอยประวัตินางในวรรณคดีไทย « ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2011, 10:19:49 PM » ................................................................... ประวัติ...นางมโนราห์ นางมโนราห์เป็นธิดาองค์เล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน ๆ กัน งดงามยิ่งกว่านางมนุษย์ รูปร่างหน้าตาของพวกเขาเหมือนมนุษย์แต่มีปีกและหางที่ถอดออกได้ เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโนดาต เจอพรานบุญที่ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมือง ปัญจาลนคร พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ซึ่งได้ให้ยืมบ่วงนาคบาช เพราะพรานบุญเคยช่วยชีวิตเอาไว้และเห็นว่าพระสุธนกับนางมโนราห์เป็นเนื้อคู่กัน พรานบุญได้จับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสุธน พระสุธนเห็นเข้าก็เกิดหลงรักนางและพานางกลับเมือง และได้อภิเษกกัน ต่อมาปุโรหิตคนหนึ่งได้เกิดจิตอาฆาตแค้นแก่พระสุธนเพราะว่าพระสุธนไม่ให้ตำแหน่งแก่บุตรของตน เมื่อถึงคราวเกิดสงคราม พระสุธนออกไปรบ พระบิดาได้ทรงพระสุบิน ปุโรหิตได้ทำนายว่าจะเกิดภับพิบัติครั้งใหญ่ ให้นำนางมโนราห์ไปบูชายัญ ซึ่งท้าวอาทิตยวงศ์ได้ยินยอมตามนั้น นางมโนราห์รู้เข้าก็เกิดตกใจ จึงออกอุบาย ของปีกกับหางขอนางคืน เพื่อร่ายรำหน้ากองไฟก่อนจะตาย เมื่อนางได้ปีกกับหางแล้ว นางก็ร่ายรำได้สักพักก็บินหนีไป ไปเจอฤาษีก็ได้กล่าวกับฤาษีว่า หากพระสุธนตามมาให้บอกว่าไม่ต้องตามนางไป เพราะมีภยันอันตรายมากมาย และได้ฝากภูษาและธำมรงค์ให้พระสุธน เมื่อนางมโนราห์ได้กลับไปที่เมืองก็จะได้มีพิธีชำระล้างกลิ่นอายมนุษย์ ฝ่ายพระสุธนที่กลับจากสงครามได้ลงโทษปุโรหิต และติดตามหานางมโนราห์ เมื่อเจอพระฤาษี พระสุธนจะติดตามนางมโนราห์ต่อไป โดยมีพระฤาษีค่อยช่วยเหลือ เปนเพราะเวรกรรมแต่ชาติที่แล้วนั่นคือ นางมโนราห์คือ พระนางเมรี และพระสุธนคือ พระรถเสน ทำให้พระสุธนได้รับความลำบากมาก เมื่อพระสุธนมาถึงสระน้ำอโนดาต ได้แอบเอาพระธำมรงค์ใส่ลงในคณโฑของนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งนางกินรีได้นำน้ำนั้นไปสรงให้นางมโนราห์ พระธำมรงค์ได้ตกลงมาที่แหวนของนางพอดี ทำให้นางรู้ว่าพระสุธนมาหานาง นางจึงได้แจ้งแก่พระมารดา ซึ่งพระบิดาต้องการทราบว่าพระสุธนมีความรักจิงต่อนางมโนราห์หรือไม่ ได้รับพระสุธนมาที่เมืองและให้พระสุธนบอกว่านางไหนคือนางมโนราห์ ซึ่งนางมโนราห์และพี่ๆๆมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกัน ร้อนถึงองค์อินทร์ ต้องแปลงกายมาเป็นแมลงวันทอง จับที่ผมของนางมโนราห์ ทำให้นางมโนราห์และพระสุธนได้เคียงคู่อย่างมีความสุข แบ่งปันให้เพื่อนคุณบน Facebook บันทึกการเข้า คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไป NavyGirl สมาชิกพี่ใหญ่ ออฟไลน์ กระทู้: 1001 Re: ย้อนรอยประวัตินางในวรรณคดีไทย « ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2011, 10:26:38 PM » ................................................................... ประวัติ...นางจินตะหราวาตี จินตะหราเป็นพระธิดาท้าวหมันหยากับนางจินดาส่าหรีประไหมสุหรี เกิดในปีเดียวกับอิเหนาแต่อ่อนเดือนกว่า จึงมีฐานะเป็นน้อง และด้วยความงามของนางที่ถูกบรรยายไว้ว่า 'งามงอนอ่อนระทวยนวยแน่ง ดำแดงนวลเนื้อสองสี ผ่องพักตร์ผิวพรรณดังจันทรี นางในธานีไม่เทียมทัน' ทำให้อิเหนาหลงใหลจนไม่อยากกลับบ้าน เพียรพยายามใกล้ชิดกับจินตะหรา อิเหนามีคู่หมั้นชื่อนางบุษบา ขณะที่จะอภิเษกสมรส อิเหนาได้หนีออกไปประพาสป่า และได้ปลอมตัวเป็นโจรชื่อ ปันหยี เดินทางไหเมืองหมันหยา ระหว่างทางได้พบเจ้าเมืองรายทางได้ถวายพระธิดา คือ นางสการะวาตี กับนางมาหยารัศมีให้เป็นข้ารับใช้ อิเหนาได้สู่ขอนางจินตะหรา แต่ท้าวหมันหยาไม่กล้ายกให้ บอกให้อิเหนาไปคุยกับนางจินตะหราเอง อิเหนาไม่ยอมอถิเษกกับบุษบา ท้าวดาหาโกรธจึงรับสั่งว่าใครมาสู่ขอจะยกให้ จรกาได้มาสู่ขอ และได้เกิดศึกชิงนางบุษบา อิเหนาจำใจยกทัพไปช่วย เมื่อพบนางบุษบาก็หลงรัก และไม่กลับไปที่เมืองหมันหยา นางจินตะหรนาน้อยใจมากที่อิเหนาลืมนาง นางได้พบอิเหนาเมื่อท้าวกุเรปันส่งสารมาให้นางไปเข้าพิธีอภิเษกพร้อมบุษบา จินตะหราไม่อยากไปร่วมพิธี แต่ขัดไม่ได้ จึงพานางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีไปด้วย ในพิธีอภิเษก นางบุษบาได้อยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย ในขณะที่จินตะหราวาตีอยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายขวา ด้วยความเห็นชอบของท้าวดาหา (อาจจะเป็นเพราะว่าท้าวดาหาต้องการแสดงว่ามีพระทัยกว้าง จึงให้พระธิดาของตนอยู่ในตำแหน่งรอง) แต่จินตะหราไม่มีความสุขกับตำแหน่งนั้นเพราะอิเหนาไม่ได้รักนางเหมือนเมื่อก่อน ประกอบกับนางเป็นคนถือทิฏฐิไม่ยอมคืนดีด้วย เมื่ออิเหนามาหาทั้งยังทวงสัญญาทำให้อิเหนาเสื่อมรักนางมากแล้วยิ่งเบื่อจินตะหรามากขึ้น ไม่คิดสนใจ แต่ขัดคำสั่งของประไหมสุหรีท้าวดาหาไม่ได้ จึงจำใจไปง้อนาง รักอย่างเดียวไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน โดยเฉพาะความรักที่ถือเอาความงามเป็นแบบบรรทัดฐานอย่างอิเหนา เมื่อเรื่องรู้ถึงท้าวหมันหยากับประไหมสุหรีท้าวหมันหยา ได้เรียกนางจินตะหราไปตักเตือน ทำให้จินตะหรารับสภาพว่านางเสียเปรียบบุษบามาก แล้วขืนยังทำตัวยืนกรานแบบเก่าจะมีสภาพที่ย่ำแย่ จึงยอมคืนดีกับอิเหนา และอ่อนเข้าหาบุษบา |
|
|
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล 70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com
|
Generated 0.022368 sec. |
|
|
|
|
|