krupads


ไตรภูมิพระร่วง
 

ทดสอบ  ไตรภูมิพระร่วง

1.     เนื้อหาในไตรภูมิพระร่วงเกี่ยวกับเรื่องใด

ก.       นรก  สวรรค์  บาดาล

ข.       กามภูมิ  สวรรค์  นรก

ค.       กามภูมิ  รูปภูมิ  อรูปภูมิ

ง.       ปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ  ตติยภูมิ

2.     ผู้แต่งคือใครและมีความสัมพันธ์กับพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอย่างไร

ก.       พระศรีสุนทรโวหาร- หลาน

ข.       พระศรีสุนทรโวหาร- เหลน

ค.       พญาลิไทย-หลาน

ง.       พญาลิไทย-เหลน

3.    ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีสมัยใด

ก.       สุโขทัย

ข.       อยุธยาตอนต้น

ค.       อยุธยาตอนกลาง

ง.       อยุธยาตอนปลาย

4.    เรื่องนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด

ก.       ความเรียงร้อยแก้ว

ข.       ร่ายสุภาพ

ค.       กาพย์ยานี 11

ง.       กลอนสุภาพ

5.    ข้อใดไม่เข้าพวก

ก.       ดาวดึงส์

ข.       ยามะ

ค.       โสฬส

ง.       ดุสิต

6.    ไตรภูมิพระร่วงเดิมมีชื่อเรียกว่าอะไร

ก.       ไตรภูมิกถา

ข.       เตภูมิกถา

ค.       ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา

ง.       ไตรภูมิพระร่วง

7.     ข้อใดกล่าวถึงไตรภูมิพระร่วงไม่ถูกต้อง

ก.       ชี้ให้เห็นว่าแดน 3 โลกนี้ไม่น่าอยู่เลย

ข.       ความสุขในอุตรกุรุทวีปเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่เป็นอมตะ

ค.       อนิจจลักษณะคือความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่งในโลก

ง.       ถูกทุกข้อ

8.    ข้อใดไม่มีอุปมาโวหาร

ก.       จะงอยไส้ดือนั้นกลวงขึ้นไปเบื้องบนติดหลังท้องแม่

ข.       แลสองแก้มเขานั้นไสร้งามเป็นนวลดั่งแกล้งเอาแป้งผัด

ค.       อันว่าสายสะดือแห่งกุมารนั้นกลวงดั่งสายก้านบัวอันมีชื่อว่าอุบล

ง.       ถ้าจะเอามาเปรียบด้วยสมบัตินิพพานนั้น ประดุจเอาหิ่งห้อยมาเปรียบ
          ด้วยพระจันทร์

9.     “...แลท้าวพระญาองค์ใดกระทำความอันบ่มิชอบคลองธรรมไสร้ เทวดา
        ฟ้าฝนนั้นก็พิปริต  แม้นทำไร่ไถนาก็บันดาลให้เสียหาย
        ตายแล้งแลฝนแล”     จากข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร

ก.       เทวดาย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติดี

ข.       ผู้ปกครองประเทศต้องมีคุณธรรม

ค.       หากพระมหากษัตริย์มีคุณธรรมบ้านเมืองจะสงบสุข

ง.       ผู้ปกครองประเทศที่ขาดคุณธรรมบ้านเมืองจะเกิดวิปริต

10.  ชื่อสถานที่ใดไม่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วง

ก.       วังปารุสกวัน

ข.       พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

ค.       พระราชวังไกลกังวล

ง.       พระราชวังดุสิต

11.   ข้อใดหมายถึงพยาธิในท้อง

ก.       เอือน

ข.       ห่อน

ค.       ธรห้อย

ง.       อัมพุทะ

12.   “พึงเกลียดพึงหน่าย  อันใดอันอื่น  เจ็บเนื้อเจ็บตน”  ข้อความนี้แสดงถึง
        การใช้ภาษาอย่างไร

ก.       การใช้คำเห็นภาพพจน์

ข.       การใช้คำที่เป็นจังหวะน่าฟัง 

ค.       การใช้คำที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ

ง.       การใช้คำเปรียบเทียบทำให้รู้สึกเข้าใจยิ่งขึ้น

13.  “ ไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลายก็อยู่เย็นเป็นสุข  ได้หลักขาดดีในศรีสมบัติ ”
        ข้อความที่ขีดเส้นใต้หมายถึงอะไร

ก.       ความถูกต้อง

ข.       คุณธรรม

ค.       ความมั่นคง

ง.       ความมีวินัย

14.  ข้อใดมีการใช้คำซ้ำในการพรรณนาให้เห็นภาพ

ก.       แลสองแก้มเขานั้นไสร้งามเป็นนวลดั่งแกล้งเอาแป้งผัด

ข.       อันว่าสายสะดือแห่งกุมารนั้นกลวงดั่งสายก้านบัวอันมีชื่อว่าอุบล

ค.       ถ้าจะเอามาเปรียบด้วยสมบัตินิพพานนั้น ประดุจเอาหิ่งห้อยมาเปรียบ 
          ด้วยพระจันทร์

ง.       แลเข้าไปในท้องกุมารนั้นแล  สะหน่อยๆ แลผู้น้อยนั้นก็ได้กินทุกค่ำ
          เช้าทุกวัน

15.  “ ในกาลทั้ง 3” หมายถึงอะไร

ก.       สวรรค์  มนุษย์  นรก

ข.       กามภูมิ  รูปภูมิ  อรูปภูมิ

ค.       เมื่อแรกเกิด  เมื่ออยู่ในท้องแม่  เมื่อออกจากท้องแม่

ง.       พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์

 


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.006272 sec.