krusunsanee


ความหมายของภูมิปัญญาทางภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษา
               ภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจและควรถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ภูมิใจด้วย โดยเฉพาะภูมิปัญญาทางภาษาที่เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านเป็นความรู้ความสามารถของชาวบ้านที่สร้างขึ้นมาจากประสบการณ์ ซึ่งสืบทอดต่อกันหลายชั่วอายุคนสมควรที่จะได้รับการสืบสานไปยังคนรุ่นหลังต่อไป

             ความหมายของภูมิปัญญาทางภาษา
                ภูมิปัญญาทางภาษา หมายถึง ความฉลาดของบรรพบุรุษที่ต้องการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ประสบการณ์ไว้ในภาษาและวรรณกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการสั่งสอนให้ข้อคิด คติเตือนใจและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม

            ลักษณะของภูมิปัญญาทางภาษา
                 ภูมิปัญญาไทยในภาษาแสดงความงดงามของภาษาในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

                  1. ศิลปะการใช้ถ้อยคำ มีลักษณะต่าง ๆ เช่น
                     - ความสามารถในการสร้างคำ ภาษาไทยมีการคิดสร้างคำขึ้นใช้มากมาย เช่น คำ ซ้ำ คำซ้อน คำประสม การเลียนเสียงธรรมชาติหรือสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น
                     - ความหลากหลายในถ้อยคำ สามารถเลือกใช้ได้หลายคำโดยไม่ซ้ำกันซึ่งคนไทย มีแนวคิด ในการนำคำที่คิดขึ้นมากมายนั้นมาจับกลุ่มใหม่ เรียกชื่อว่า คำพ้อง
                     - การสัมผัสคล้องจอง คนไทยนิยมร้อยเรียงคำให้สัมผัสคล้องจองกัน เพื่อจะได้จำง่าย
                     - การเปลี่ยนแปลงคำ การยืมคำภาษาอื่นมาใช้ในภาษาไทยจะเปลี่ยนแปลงให้ สะดวกในการเขียนและการออกเสียง
                     - การพลิกแพลงคำ คำภาษาต่างประเทศบางคำออกเสียงยากจึงพลิกแพลงเพื่อให้ สะดวกในการออกเสียง
                     - การเรียงคำเพื่อให้ดูดีมีความไพเราะ การเรียบเรียงคำให้โดดเด่นน่าสนใจในรูป ของคำขวัญ คำคม คำพังเพย สำนวน สุภาษิต เป็นต้น
                      - การผวนคำ เป็นการนำคำมาสับที่สับเสียงเพื่อให้เกิดความหมายใหม่ หรืออาจ ไม่มีความหมายเลยแต่แสดงถึงความมีอารมณ์ขันและความสนุกสนานของคน ไทยในการสร้างสรรค์คำใหม่เท่านั้น
                  2. ลักษณะเด่นทางภาษา ภาษาไทยมีลักษณะที่แตกต่างจากภาษาอื่นหลายเรื่องดังนี้
                      - ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ ทำให้คำคำเดียวสามารถเปลี่ยนวรรณยุกต์เพื่อเปลี่ยน ความหมายได้
                      - ภาษาไทยมีลักษณะนาม เพื่อบอกลักษณะของคำ ซึ่งเป็นความสามารถของคน ไทยที่ช่างคิดประดิษฐ์ถ้อยคำขึ้นมาใช้
                      - ภาษาไทยมีระดับทั้งที่เป็นทางการ กึ่งทางการและไม่เป็นทางการ ต้องใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสมกับกาลเทศะ

                 3. ภูมิปัญญาไทยในบทประพันธ์ ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาไทยอันยอดเยี่ยมในการใช้ถ้อยคำ นอกจากกวีจะเลือกสรรถ้อยคำที่มีความไพเราะลึกซึ้งกินใจแล้วยังได้สอดแทรกความรู้ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและสภาพการดำเนินชีวิตไว้ด้วย
     
      สืบค้นข้อมูลจาก นางอัญชนา ยอดญาติไทย ครูโรงเรียนชุมชนนาสีนวล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 แหล่งที่มา http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=23569&bcat_id=16 สืบค้นเมื่อ 18พ.ย.2554

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.006528 sec.