การรู้จักตนเอง
การรู้จักตนเอง
ผู้มีการพัฒนาตนต้องรู้จักตน วิเคราะห์ตนเองให้ชัดเจนว่า ตนเป็นใคร มาจากไหน ทำอะไร มีอะไรเป็นเป้าหมายของชีวิต
- โสกราติส นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า “ชีวิตที่ไม่ได้ตรวจสอบ เป็นชีวิตที่ไร้ค่า”
- คนที่หวังความก้าวหน้า ควรกำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางชีวิตตน พิจารณาว่าจะนำตนไปสู่จุดมุ่งหมายชีวิตได้อย่างไร ต้องทำตนอย่างไรจึงเผชิญสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
- การรู้จักตนเองจึงเป็นรากฐานแห่งการนำชีวิตไปสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างราบเรียบ
มนุษย์เรามีความเสมอภาคกัน
คนเราทุกคนมีอิสรเสรีภาพ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ที่จะเลือกทางเดินของชีวิต
- แม้คนเราจะมีความแตกต่างกัน อันเนื่องมาจาก
o ประการแรก คือ พันธุกรรม เป็นลักษณะที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เช่น สูง-ต่ำ ดำ-ขาว
o ประการที่สอง คือ สภาพแวดล้อม เกิดการกระทบผ่านเข้ามาทางประสาทรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก่อให้เกิดแนวคิด ปรัชญา ค่านิยม เจตคติ ความเชื่อ
§ สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงกระบวนการทางสังคม เช่น การอบรม เลี้ยงดู การศึกษาจากโรงเรียน กลุ่มเพื่อน อิทธิพลทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ศาสนา
§ นอกจากนั้นสังคมก็ควบคุมพฤติกรรมของคนให้ทำตาม หรือ เว้นการกระทำ การควบคุมทางจิตใจของคน ก็เป็นเครื่องส่งเสริม หรือสกัดกั้นความรู้สึกนึกคิด และการกระทำของคน ทำให้คนเราแตกต่างกัน
- การพัฒนาตน เกิดจากการรู้จักตนเอง
o การรู้จัดตนเอง หมายถึง การเข้าใจตนเอง รู้จักอุปนิสัยใจคอตนเอง
o มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน ยินดีกับความสำเร็จ วิพากษ์การกระทำที่ผิดพลาด ควบคุมความรู้สึก
o มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ
การสำรวจตนเองทำให้รู้ส่วนดี-ข้อเด่น ส่วนด้อย-ข้อบกพร่อง ซึ่งจะได้รักษาส่งเสริมส่วนดี แก้ไขส่วนด้อยหรือบกพร่อง
ในการสำรวจนั้นต้องใจกว้าง ยอมรับข้อบกพร่อง รับคำวิพากษ์ โดยระลึกว่า “ผู้ตำหนิ คือ ผู้บอกขุมทรัพย์แห่งการพัฒนา เป็นกระจกเงาที่ส่องให้มองเห็นตัวตนของเรา” ขณะเดียวกันก็หาข้อมูลความรู้มาประกอบพิจารณา และหมั่นสำรวจตนอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีเกิดขึ้นตลอดเวลา สังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
- การพัฒนาตน ควรพัฒนาให้มีความสมดุลระหว่างชีวิต และการงาน
เพื่อให้คนเรามีการพัฒนาการสมดุล ทั้งชีวิตส่วนตัวและการงาน คนเราต้องพัฒนาชีวิตหกด้านควบคุ่กันไปให้ได้ดุลกัน
1. จริยธรรม และ จิตวิญญาณ
จิตวิญญาณ เป็นแหล่งแห่งพลังของมนุษย์อยู่เหนือสภาพวัตถุมีพลังมหาศาลไร้ขีดจำกัด เราจึงจะต้องพัฒนาปรัชญา ความเชื่อ ศีลธรรม จรรยามารยาท ซึ่งจะก่อเกิดจริยธรรมที่ดีงาม เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ เพิ่มพูนเกลื้อหนุนแก่ตัวเรา และแก่คนรอบข้างของเรา
2. สติปัญญา และ การศึกษา
การศึกษาความรู้ต่างๆ ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย เพื่อให้เติบโตทั้งความคิดและจิตใจ และให้ก้าวหน้าทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อนำมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของเรา จึงต้องอาศัยการพัฒนาสติปัญญาอันฉลาด ที่จะสามารถนำความรู้ที่เล่าเรียนมาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น
3. สุขภาพ และ ร่างกาย
คนเราสามารถทำอะไรได้ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ หากตายไปก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เวลาที่เราเจ็บป่วยไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจ เราก็ทำอะไรได้น้อยลง หรืออาจไม่สามารถทำได้ อาจเหมือนคนตายไปแล้ว ยิ่งร้ายกว่านั้นถ้าป่วยทางจิตใจ กลับสร้างคนเสียหายอย่าใหญ่หลวงได้ แย่ยิ่งกว่าคนตายเสียอีก
การรักษาร่างกาย ให้แข็งแรง มีสุขภาพดีทั้งกาย และใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะก่อให้เกิดการดำรงชีวิตที่มีความสุขได้
4. ครอบครัว และ บ้านเรือน
บ้านเรือนที่อยู่อาศัย เป็นสังคมหน่วยเล็กที่มีความหมายมาก เราต้องพัฒนาบ้านเรือนของเราให้เป็นที่น่าอยู่อาศัย สร้างสัมพันธ์ภาพของคนในครอบครัวให้แน่นเหนี่ยว มีจิตใจมั่นคง เป็นแรงใจแก่กัน
(ทุกคนในบ้านต้องออกไปเผชิญสังคมภายนอก เมื่อครอบครัวเข็มแข็ง ที่ทำงานจะเข้มแข็ง ชุมชนสังคมก็จะเข้มแข็ง)
5. การเงิน และ อาชีพ
เราประกอบอาชีพการงาน เพื่อหารายได้ การมีอาชีพการงานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้เรามีรายได้ที่ดี เราควรมีอาชีพที่เหมาะสมกับทักษะ และทำงานให้มีความสนุกสนาน มีเจตคติในทางบวก และ มุ่งมั่นปรับปรุงคุณภาพ ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามมุ่งหวังไว้
6. สังคม และ วัฒนธรรม
เราต้องมีการพัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น วัฒนธรรมเป็นส่วนร้อยจิตใจให้เราอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่ดีงาม ทำให้เราเข้ากันได้กับผู้อื่น อยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างกลมเกลียว |